การศึกษาแบบสุ่มเกี่ยวกับการระงับปวดขณะสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทกจากภายนอก เปรียบเทียบระหว่างยาอีโทริคอกสิบกับยาหลอก
ปิยวัฒน์ ตันธนาธิป*, มนินธ์ อัศวจินตจิตร์
หน่วยศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดอาการปวดจากการสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทกจากภายนอก ระหว่างยาอีโทริคอกสิบและยาหลอก
                ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษา Double blind controlled trial ผู้ป่วยนิ่วไตและท่อไตที่มารับการรักษาด้วยวิธี ESWL ช่วงอายุ 18-65 ปี หลังได้ยา Tramol 50 มิลลิกรัม ทางหลอดเลือดดำ ก่อนทำหัตถการ กลุ่มที่ 1 ได้รับยาอีโทริคอกสิบ 90 มิลลิกรัม กลุ่มที่ 2 ได้รับยาหลอก (placebo) โดยมีการบันทึกอาการปวด (visual analog scale) และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นตลอดการรักษา
                ผลการศึกษา : คะแนนความปวด (VAS) ของผู้ป่วย ณ เวลา 15, 30, 45, 60 และ 75 นาที พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมถึง ค่าเฉลี่ยและค่ามากที่สุด (Mean and Max) ของ VAS โดยในกลุ่มยาหลอกเท่ากับ 5.53 และ 6.97 ส่วนในกลุ่มยาอีโทริคอกสิบเท่ากับ 5.48 และ 6.90 พบว่าไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ โดยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 95% Cl อยู่ที่ 0.920 และ 0.892 ตามลำดับ
                สรุป : การใช้ยาอีโทริคอกสิบก่อนสลายนิ่วให้ผลระงับปวดไม่แตกต่างกับการให้ยาหลอก
 
ที่มา
วารสารยูโร ปี 2559, July-December ปีที่: 37 ฉบับที่ 2 หน้า 29-35
คำสำคัญ
Pain control, extracorporeal shockwave lithotripsy, การลดอาการปวด, การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทกจากภายนอก