การศึกษาเปรียบเทียบการเชื่อมกระดูกสันหลังในผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อนระดับเอวโดยระหว่างการใช้และไม่ใช้ไขกระดูกเข้มข้น
อารีศักดิ์ โชติวิจิตร*, มนต์ชัย เรืองชัยนิคม, ตรงธรรม ทองดี, อดิศักดิ์ วงศ์ขจรศิลป์, ปาริชาติ เพิ่มพิกุล, เอกพจน์ ก่อวุฒิกูลรังษี
Department of Orthopaedic Surgery, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, 2 Wang Lang Road, Bangkok Noi, Bangkok 10700, Thailand; Phone: +66-2-4197958; Fax: +66-2-4197967; E-mail: areesak.cho@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง : ไขกระดูกมีส่วนประกอบทั้งเซลล์และสารที่ช่วยในการติดของกระดูก การใช้ไขกระโกเข้มข้นทีมีปริมาณเซลล์มากขึ้นมีความน่าสนใจในการนำมาใช้เพื่อช่วยในการเชื่อมกระดูกสันหลังสำหรับการรักษาผู้ป่วยที่มีการเคลื่อนกระดูกสันหลังระดับเอว แต่ข้อมูลสำหรับการนำมาใช้ในการรักษายังมีจำกัด
                วัตถุประสงค์ : ศึกษาเปรียบเทียบผลการเชื่อมกระดูกสันหลังในผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อนระดับเอวโดยระหว่างการใช้และไม่ใช้ไขกระดูกเข้มข้นทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ
                วัสดุและวิธีการ : การทดลองทางคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยแบ่งผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อนระดับเอวข้อที่ 4 และ 5 ที่ได้รับการผ่าตัดลดการกดทับเส้นประสาทและผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังร่วมกับการใช้โลหะดามกระดูก โดยการทดลองแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองมีผู้ป่วย 6 คน ที่ได้รับการใช้ไขกระดูกเข้มข้น กลุ่มควบคุมมีผู้ป่วย 6 คน ซึ่งไม่ได้ใช้กระดูกเข้มข้นในการรักษา ดำเนินการทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2555 เก็บข้อมูลผู้ป่วยเปรียบเทียบทั้งอาการผู้ป่วยโดยใช้คะแนน Oswestry disability index (ODI) และการประเมินการติดของกระดูกทั้งปริมาณและคุณภาพด้วยการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์
                ผลการศึกษา : จากการประเมินอาการของผู้ป่วยด้วยคะแนน ODI ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการทดลองสองกลุ่ม ส่วนการติดของกระดูกในเดือนที่ 6 กลุ่มทดลอง (กลุ่ม BM) มีอัตราการติดกันของกระดูกร้อยละ 58.3 กลุ่มควบคุม (กลุ่ม non-BM) มีอัตราการติดกันของกระดูกร้อยละ 100 โดยที่ขนาดของกระดูกที่เชื่อมไม่แตกต่างกันจากการวัดในภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ และพบว่าขนาดของกระดูกที่เชื่อมทั้งสองกลุ่มมีปริมาตรลดลงที่ 6 เดือนหลังผ่าตัด (ร้อยละ 51.1 ในกลุ่มทดลองและร้อยละ 48.5 ในกลุ่มควบคุม) ในกลุ่มทดลองมีผู้ป่วยหนึ่งคนเกิดแผลอักเสบบริเวณที่ได้รับการเจาะไขกระดูก
                สรุป : ในการทดลองนี้การใช้ไขกระดูกเข้มข้นไม่สามารถแสดงผลบวกต่อการเชื่อมกระดูกสันหลังระดับเอวสำหรับการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อนได้ นอกจากนั้นยังต้องเฝ้าระวังการติดของกระดูกที่เชื่อมถ้ามีการใช้ไขกระดูกเข้มข้นร่วมด้วย
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2559, October ปีที่: 99 ฉบับที่ 10 หน้า 1073-1079
คำสำคัญ
Spinal fusion, spondylolisthesis, Bone marrow, CT scan, Bone graft, Posterolateral lumbar fusion