โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุกลุ่มอาการเมตาบอลิก: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
กฤษณาพร ทิพย์กาญจนาเรขา*, วารี กังใจ, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, Joanne Kraenzle SchneiderSenior Professional Level at Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, Email: kitsanaporn.t@bcn.ac.th
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในกลุ่มอาการเมตาบอลิก ต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและตัวชี้วัดทางฟิสิโอโลจิคอลในผู้สูงอายุกลุ่มอาการเมตาบอลิกกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกทั้งหมด 66 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองในกลุ่มอาการเมตาบอลิกและการพยาบาลตามปกติขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเพียงอย่างเดียว โปรแกรมฯ ประกอบกิจกรรม 4 ขั้นตอนใช้ระยะเวลา 6 สัปดาห์ โดยมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การทำกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย เก็บข้อมูลก่อนการทดลอง หลังการทดลอง (สัปดาห์ที่ 6) และระยะติดตามผล (สัปดาห์ที่ 12) โดยใช้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการรับประทานอาหารและ ประเมินการมีกิจกรรมทางกาย และการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และประเมินตัวชี้วัดทางฟิสิโอโลจิคอล ประกอบด้วย ระดับกลูโคสในเลือด ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ระดับเอชดีแอล ค่าเส้นรอบเอว และ ระดับความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติ ที ไคว์สแคว์ และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ แบบวัดซ้ำ
ผลการศึกษาพบว่าคะแนนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและตัวชี้วัดทางฟิสิโอโลจิคอลในผู้สูงอายุกลุ่มอาการเมตาบอลิกที่ได้รับโปรแกรม MSSM ดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Pillai’s Trace =.407, F(8, 57) = 4.88, p < .001) และ คะแนนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและตัวชี้วัดทางฟิสิโอโลจิคอลมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มกับเวลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Pillai’s Trace = .693, F(16, 49) = 6.92, p < .001) นอกจากนี้ผู้สูงอายุกลุ่มอาการเมตาบอลิกที่ได้รับโปรแกรม MSSM มีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและตัวชี้วัดทางฟิสิโอโลจิคอลเมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนการทดลองหลังการทดลองและระยะติดตามผล พบว่าค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในช่วงสามเวลาอย่างน้อยหนึ่งคู่ (Pillai’s Trace = .723, F(16, 49) = 8.01, p < .001).
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีการปรับเปลี่ยนในทางที่ดีขึ้นของพฤติกรรมการรับประทานอาหารและ การมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายและตัวชี้วัดทางฟิสิโอโลจิคอลประกอบด้วยระดับน้ำตาลและไตรกลีเซอไรด์เมื่อเปรียบเทียบระหว่างหลังการทดลองและระยะติดตามผล ส่วนเส้นรอบเอวลดลงเฉพาะหลังการทดลอง แต่อย่างไรก็ตาม โปรแกรม MSSM ไม่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนระดับ เอชดีแอล และระดับความดันโลหิตให้ดีขึ้น
ที่มา
Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok ปี 2559, May-August
ปีที่: 32 ฉบับที่ 2 หน้า 12-28
คำสำคัญ
Self-management Program, older adults, Metabolic syndrome, randomized controlled trials, lifestyle behaviors, physiological indicators