การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการใช้หมอนรองหลังเพื่อสุขภาพและอุปกรณ์พยุงหลังร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง
สิริกาญจน์ คมพยัคฆ์, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล*, อุษา ครุครรชิต, พรรณี ปึงสุวรรณ, ทกมล กมลรัตน์
ศูนย์ปวดหลัง ปวดคอ ปวดข้ออื่นๆ และสมรรถนะของมนุษย์ (BNOJPH) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย
บทคัดย่อ
                อาการปวดหลั งส่วนล่างเรื้ อรั งเป็นกลุ่มอาการที่ พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงวั ยทำงาน ก่อให้เกิ ดการสู ญเสี ยค่าใช้จ่าย ในการรักษาเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันได้มีการนำอุปกรณ์พยุงหลัง (lumbar support: LS) และหมอนรองหลังเพื่อสุขภาพ (back care pillow: BCP) มาใช้เพื่อหวังผลในการรักษาอาการปวดหลัง ซึ่งทั้ง LS และ BCP ยังไม่มีการศึกษาใดสามารถให้ความ กระจ่างในข้อดีและข้อเสียของการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว รวมถึงยังไม่มีการศึกษาใดที่ทำการเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการ ใช้ BCP กับ LS ในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังแบบไม่จำเพาะเจาะจง งานวิจัยนี้มีอาสาสมัครจำนวน 66 คน โดยทำการสุ่ม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับการรักษาโดยใช้ BCP ร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัด (ultrasound และ hot packs) และกลุ่มที่ได้รับการรักษาโดยใช้ LS ร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัด (ultrasound และ hot packs) โดยวัดระดับอาการ ปวดหลัง การประเมินคุณภาพชีวิต องศาการเคลื่อนไหวของหลัง ภาวะทุพพลภาพโดย และความพึงพอใจของผู้ป่วย อาสา สมัครทั้งสองกลุ่มได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัด (ultrasound และ hot packs) ครั้งละ 30 นาที รวม 6 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์จากนั้นอาสาสมัครจะต้องใส่ BCP และ LS ต่อไป 3 เดือน ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยระดับอาการปวด ระดับคุณภาพ ชีวิต องศาการเคลื่อนไหวของหลัง ภาวะความทุพพลภาพและระดับความพึงพอใจของผู้ป่วย หลังการรักษา 2 สัปดาห์และ 3 เดือนของอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มที่ ได้รับการรักษาโดยใช้ BCP ร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัดเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาโดยใช้ LS ร่วมกับการ รักษาทางกายภาพบำบัด พบว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาโดยใช้ BCP มีค่าเฉลี่ยระดับอาการปวด ระดับคุณภาพชีวิต องศาการ เคลื่อนไหวของหลัง ภาวะความทุพพลภาพและระดับความพึงพอใจของผู้ป่วย ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาโดยใช้ LS อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
 
ที่มา
๋Journal of Medical Technology and Physical Therapy ปี 2559, May-August ปีที่: 28 ฉบับที่ 2 หน้า 165-176
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, คุณภาพชี่วิต, Non-specific chronic low back pain, Back care pillow, Lumbar support, อาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง, หมอนรองหลังเพื่อสุขภาพ, อุปกรณ์พยุงหลัง