การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และผลกระทบด้านงบประมาณสำหรับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
กุมารี พัชนี*, ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน, ภูษิต ประคองสาย
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
บทคัดย่อ
การผ่าตัดเปลี่ยนตับหรือ‘การปลูกถ่ายตับ’ เป็นการรักษาผู้ป่ วยโรคตับที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ได้แก่ โรคตับที่เกิดขึ้นแบบฉับพลันหรือ “ตับวายเฉียบพลัน” รวมทั้งโรคตับที่เกิดขึ้นเรื้อรัง เช่น โรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับ ซึ่งในต่างประเทศถอื เป็นการรักษาตามมาตรฐานในผู้ป่ วยโรคตับ โดยผู้ป่วยจะมีชีวิตรอดหลังการรักษามากกว่าร้อยละ 80.0  ที่ระยะ 5 ปี ทั้งนี้วิธีการเปลี่ยนตับจำแนกตามผู้บริจาคได้ 2 วิธี คือ การเปลี่ยนตับ จากผู้บริจาคอวัยวะที่มีภาวะสมองตาย และการเปลี่ยนตับโดยนำตับมาจากผู้มีชีวิต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และคำนวณผลกระทบด้านภาระงบประมาณและความเป็นไปได้ในการให้บริการผ่าตัดปลูกถ่ายนตับในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป รวมทั้งจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการพิจารณาผนวกรวมการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในผู้ใหญ่เข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์สำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) วิธีการศึกษาประกอบด้วย (1) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (2) การศึกษาต้นทุนการให้บริการในกรณีผ้บู ริจาคที่มีชีวิตและเสียชีวิต (3) การสัมภาษณ์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทั้งก่อนและหลังการรักษา (4) สัมภาษณ์ผู้ป่วยที่ได้เข้ารับการรักษาและระหว่างรอรับการรักษา และ (5) การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อประเมนิ ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ค่าใช้จ่ายสำหรับการปลูกถ่ายตับเป็นรายปี และค่าใช้ จ่ายสะสมต่อรายต้ังแต่ ปีที่ได้ รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับจนถึงปี ที่ 20 ค่าใช้จ่ายสูงสุดประมาณ 500,000-700,000 บาทต่อรายในปี แรกที่ได้รับการผ่าตัด ในปี ถัดไปจะเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับยากดภูมิค้มุ กันและยาปฏิชีวนะเพื่อป้ องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน ซึ่งหากใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาความคุ้มค่าของบริการสุขภาพ ของณะอนุกรรมการพัฒนาสิทธิประโยชน์ฯ การปลูกถ่ายตับในผู้ใหญ่อาจมีประสิทธิผลต้นทุน ทั้งนี้หากผู้ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับมีอายุยืนนานเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 ปี เ มื่อเปรียบเทียบการรักษาโดยการผ่าตัดปลูกถ่ายตับกับการไม่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ค่าอัตราส่วนของส่วนต่างต้นทุนต่อประสิทธิผลส่วนเพิ่มเท่ากับ 254,557.76 บาท ต่อปี สุขภาวะ (QALY) ที่เพิ่มขึ้นหากใช้เกณฑ์ความคุ้มค่าที่ 1 GDP per capita หรือรายได้ต่อหัวประชากร ประมาณ 160,000 บาทต่อ QALY ดังนั้นการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในผู้ใหญ่ยังไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ถึงแม้จำนวนปีสุขภาวะเพิ่มขึ้นมาก แต่จากค่าใช้จ่ายในการผ่าตดั และราคายากดภูมิคุ้มกัน และยาปฏิชีวนะป้ องกันการติดเชื้อที่มีราคาสูง หากเจรจาต่อรองราคายาจะทำให้การรักษานี้มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มากมายยิ่งขึ้น
 
ที่มา
วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2559, September-October ปีที่: 25 ฉบับที่ 5 หน้า 908-919
คำสำคัญ
cost-effectiveness, หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, universal health coverage, liver transplantation, benefit package, ผ่าตัดปลูกถ่ายตับ, ชุดสิทธิประโยชน์, ประสิทธิผลต้นทุน