ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอกต่อความวิตกกังวลและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก
เบญจวรรณ พวงเพชร, กนกรัตน์ พรพาณิชย์, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, อุษาวดี อัศดรวิเศษ*
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอกต่อความวิตกังวลและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก โดยเป็นการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอกด้วยวิธีระงับความรู้สึกเฉพาะที่ ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบง่ายตามเกณฑ์ที่กำหนดเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอกที่มีการดูแลอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอก แบบประเมินการวางแผนจำหน่าย คู่มือการให้ข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก เก็บรวบรวมขอ้ มลู โดยใช้แบบสอบถามขอ้ มลู ส่วนบุคคล แบบสอบถามความวิตกกังวล และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติทดสอบ Independent t-test
ผลการวิจัย : กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วนอก ค่า เฉลยี่ คะแนนความวิตกกังวลในระยะก่อนเข้าห้องผ่าตัดและก่อนจำหน่ายกลับบ้าน (M = .56, SD = .71; และ M = 1.11, SD = 1.01) น้อยกว่ากับกลุ่มที่ได้ รับการดูแลตามปกติ (M = .04, SD = .02; และ M = .33, SD = .62) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -2.25, df = 50, p < .05 และ t = -2.33, df = 50, p < .05) และกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอก มีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (M = 76.36, SD = 4.72) มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ (M = 70.92, SD = 7.36) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.19, df = 50, p < .05)
สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลและทีมสุขภาพควรสนับสนุนการนำโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอกไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก เพื่อช่วยลดความวิตกกังวลและเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
 
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2559, April-June ปีที่: 34 ฉบับที่ Suppl 1 หน้า 53-62
คำสำคัญ
การผ่าตัดต่อกระจก, Anxiety, Cataract surgery, activity of daily living, same day surgery discharge planning, การวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอก, ความวิตกกังวล ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน, การผ่าตัดต้อกระจก