ประสิทธิภาพของยาออนแดนซีตรอนในการป้องกันภาวะคันหลังได้รับมอร์ฟีนชนิดฉีดเข้าทางช่องไขสันหลังในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องโดยได้รับการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนด้วยการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
อภิชาติ ศุภพิชญ์นาน
Department of Anesthesiology,Koh Samui Hospital
บทคัดย่อ
มอร์ฟีนชนิดฉีดเข้าช่องไขสันหลัง ถึงแม้จะเป็นวิธีมาตรฐานและการระงับปวดที่มีประสิทธิภาพ แต่พบว่าผลข้างเคียงโดยเฉพาะอาการคันพบได้บ่อยและสูงถึง 20 – 80% การศึกษานี้เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยการศึกษาประสิทธิภาพของยาออนแดนซีตรอนในการป้องกันอาการคันหลังได้รับมอร์ฟีนชนิดฉีดเข้าทางช่องไขสันหลังในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง พบว่าอุบัติการณ์ภาวะคันของผู้ป่วยในกลุ่มควบคุมและกลุ่มอาการออนแดนซีตรอนพบร้อยละ 33 และ 32 ตามลำดับ หรือจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการคันมากจนต้องได้รับยารักษาในกลุ่มควบคุมพบร้อยละ 18 และในกลุ่มออนแดนซีตรอนพบร้อยละ 22 ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.68)อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มควบคุมที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมี 9 คน โดย 7 คน (คิดเป็นร้อยละ 12) มีอาการมากจนต้องได้รับการรักษา ในขณะที่ไม่มีผู้ป่วยในกลุ่มออนแดนซีตรอนมีอาการคลื่นไส้อาเจียนภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ความแตกต่างนี้ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.01) ดังนั้นจากผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่ายาออนแดนซีตรอนไม่สามารถป้องกันภาวะคันจากมอร์ฟีนชนิดฉีดเข้าช่องไขสันหลังในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องโดยได้รับการระงับความรู้สึกแบบเฉพาะส่วนแต่อาจป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนได้ การศึกษาหาวิธีป้องกันภาวะคันซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่มีอุบัติการณ์ค่อนข้างสูงด้วยวิธีหรือยาอื่นๆ จึงควรดำเนินการต่อไปหากการใช้มอร์ฟีนชนิดฉีดเข้าช่องไขสันหลังยังถือเป็นเทคนิคมาตรฐานในการะงับปวด
 
ที่มา
Regional 11 Medical Journal ปี 2558, July-September ปีที่: 29 ฉบับที่ 3 หน้า 425-431
คำสำคัญ
Spinal anesthesia, ondansetron, intrathecal morphine, pruritus, คัน, Cesarean, ออนแดนซีตรอน, ผ่าตัดคลอด, มอร์ฟีนชนิดฉีดเข้าในช่องไขสันหลัง, ระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน