การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของยาพ่นสเตียรอยด์สำหรับโรคหืดที่มีอาการน้อยและปานกลางในบริบทของระบบสุขภาพไทย
จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, ดวงกมล ศักดิ์เลศสกุล, ภาณุมาศ ภูมาศ, สุพล ลิมวัฒนานนท์*Faculty of Pharmaceutical Sciences, Khon Kaen University. Tel: 043 362030, E-mail: supon@kku.ac.th
บทคัดย่อ
โรคหืดเป็นโรคเรื้อรังที่มีอุบัติการณประมาณร้อยละ 10-13 ในเด็ก และร้อยละ 5-9 ของประชากรผูใหญในประเทศไทย การเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหืดที่แผนกฉุกเฉินและแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลมีอัตราค่อนข้างสูงส่งผลให้เกิดภาระทางเศรษฐกิจต่อระบบสุขภาพของประเทศในปัจจุบัน สมาคมอุรเวชช์แหงประเทศไทยได้เผยแพร่แนวทางการรักษาโรคหืดตาม GINA guideline ซึ่งแนะนําใหมีการใช้ยาพ่นสเตียรอยดในผู้ป่วยโรคหืดที่มีอาการอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับน้อยจนถึงรุนแรงมาก อย่างไรก็ตาม ในเวชปฏิบัติมีการใช้ยาพ่นสเตียรอยดสําหรับผู้ป่วยโรคหืดในอัตราค่อนข้างต่ำ เนื่องจากยาพ่นสเตียรอยดมีราคาค่อนข้างแพง การศึกษานี้มีวัตถุประสงคเพื่อวิเคราะห์หาอัตราส่วนต้นทุน-ประสิทธิผล (incremental cost-effectiveness ratio, ICER) ของการใชยาพนสเตียรอยดรวมกับยาพน beta-2 agonist เมื่อเปรียบเทียบกับการใชยาพ่น beta-2 agonist เพียงชนิดเดียว สําหรับผู้ป่วยโรคหืดที่มีอาการน้อยและปานกลาง อายุ 18-35 ป และมากกว่า 35 ป ซึ่งมีหรือไม่มีประวัติการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ภายใต้มุมมองของผู้ให้บริการทางสุขภาพ โดยใช้ข้อมูลประสิทธิผลในรูปของความน่าจะเป็นสําหรับ health state ต่างๆ ในการใช้บริการสุขภาพ และค่าคุณภาพชีวิตจาก Asthma Policy Model ของสหรัฐอเมริกา ข้อมูลต้นทุนค่ารักษาพยาบาลไดจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลศูนยและโรงพยาบาลทั่วไป 18 แห่ง ตัวแบบที่ใช้วิเคราะห คือ Markov Model ซึ่งกําหนดระยะเวลารอบละ 1 เดือน ผลการศึกษาพบว่า สาหรับ reference case ICER ของการใช้ยาพ่นสเตียรอยดในช่วงระยะเวลา 10 ป สําหรับผู้ป่วยโรคหืดที่มีอาการน้อย อายุ 18-35 ป และไม่เคยเข้าโรงพยาบาลมาก่อน มีคา - 2,636 บาท/quality-adjusted life month (QALM) สําหรับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง อายุมากกว่า 35 ป และเคยเข้าโรงพยาบาลมากกว่า 1 ครั้ง มีค่าเท่ากับ - 15,602 บาท/QALM หากกําหนดกรอบระยะเวลาการวิเคราะหเป็น 5 ป ค่า ICER ต่อ QALM ของยาพ่นสเตียรอยดสําหรับผู้ปวยในแต่ละกลุ่มเท่ากับ 1,340 และ – 9,423 บาท ตามลําดับ และในระยะเวลา 3 ป ค่า ICER ต่อ QALM เท่ากับ 3,255 และ – 4,743 บาท ตามลําดับ ดังนั้น การใช้ยาพ่นสเตียรอยดในโรคหอบหืดจึงมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจในบริบทของระบบสุขภาพไทย
ที่มา
วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน ปี 2548, July-December
ปีที่: 1 ฉบับที่ 2 หน้า 30-31
คำสำคัญ
Cost-effectiveness analysis, Inhaled Corticosteroids, Mild and Moderate Asthima, การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล, ยาพ่นสเตียรอยด์, โรคหืดที่มีอาการน้อยและปานกลาง