การดึงข้อไหล่ประเภทหลุดเคลื่อนทางด้านหน้าแบบเฉียบพลันด้วยวิธี Gentle traction, Abduction and External rotation เทียบกับ Milch technique และ Spaso technique
เจษฎา พวงสายใจ
กลุ่มงานศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลกำแพงเพชร
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการดึงข้อไหล่หลุดประเภทหลุดเคลื่อนมาทางด้านหน้าแบบเฉียบพลันให้เข้าที่โดยไม่ใช้ยากล่อมประสาท ด้วยวิธี Gentle traction, Abduction and External rotation เมื่อเปรียบเทียบกับการดึงโดย Milch technique และ Spaso technique
วิธีการศึกษา:  Prospective group-randomized study ทำการศึกษาระหว่าง 1 กุมภาพันธ์ 2553 ถึง 31 มกราคม 2559 กลุ่มงานศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลกำแพงเพชรมีผู้ป่วยจำนวน 240 ราย ที่มีข้อไหล่หลุดประเภทหลุดเคลี่อนมาทางด้านหน้าแบบเฉียบพลันเข้าร่วมการศึกษา เป็นเพศชาย 195 ราย (81.25%) เป็นเพศหญิง 45 ราย (18.75%) อายุเฉลี่ย 32.63±11.72 ปี ผู้ป่วยได้รับการสุ่มให้รับการรักษาโดยการดึงหัวไหล่ที่หลุดให้เข้าที่โดยไม่ใช้ยากล่อมประสาทด้วยหนึ่งในวิธีดังต่อไปนี้ (1) Gentle traction, Abduction and External rotation technique (2) Milch technique และ (3) Spaso technique บันทึกผลสำเร็จของการดึงไหล่ในแต่ละวิธี บันทึกภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นและประเมินและบันทึกความเจ็บปวดเนื่องจากการดึงข้อไหล่ที่หลุดให้กลับเข้าที่เดิมโดยใช้ Numerical Pain Scale
ผลการศึกษา: สามารถดึงหัวไหล่ที่หลุดให้เข้าที่โดยไม่ใช้ยากล่อมประสาทด้วยวิธี  Gentle traction, Abduction and External rotation ได้สำเร็จ ร้อยละ 95 โดย Milch technique ร้อยละ 80.25 และโดย Spaso technique ร้อยละ 78.75 TAE Technique มีอัตราความสำเร็จในการดึงข้อไหล่ให้เข้าที่สูงกว่า Milch technique และ Spaso technique อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.010) เมื่อเปรียบเทียบในแต่ละวิธี TAE technique มีอัตราความสำเร็จในการดึงข้อไหล่ให้เข้าที่สูงกว่า Spaso technique อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.002) และ TAE technique มีอัตราความสำเร็จในการดึงข้อไหล่ให้เข้าที่สูงกว่า Milch technique แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.058) ผู้ป่วยมีระดับความเจ็บปวดจากการดึงข้อไหล่โดย TAE technique เท่ากับ 2.89±0.91 น้อยกว่า Milch technique 3.03±1.06 และ Spaso technique 3.42±1.23 ตามลำดับ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.006) ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดจากการดึงข้อไหล่โดย TAE technique น้อยกว่า Spaso technique อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.002) และผู้ป่วยมีความเจ็บปวดจากการดึงข้อไหล่โดย TAE technique น้อยกว่า Milch technique แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.379) ไม่มีผู้ป่วยรายใดที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการดึงไหล่ในแต่ละวิธี
สรุป: วิธี Gentle traction, Abduction and External rotation technique มีประสิทธิภาพสูงในการดึงข้อไหล่หลุดประเภทหลุดเคลื่อนมาทางด้านหน้าแบบเฉียบพลันให้เข้าที่ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ เจ็บปวดน้อย ปลอดภัยไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถทำได้โดยง่ายโดยไม่ต้องใช้ผู้ป่วย เมื่อเปรียบเทียบกับ Milch technique และ Spaso technique TAE technique มีอัตราความสำเร็จในการดึงข้อไหล่ให้เข้าที่สูงที่สุด และผู้ป่วยมีความเจ็บปวดจากการดึงข้อไหล่โดย TAE technique น้อยที่สุด
 
ที่มา
วารสารวิชาการเขต 12 ปี 2559, May-August ปีที่: 27 ฉบับที่ 2 หน้า 9-18
คำสำคัญ
anterior shoulder dislocation, shoulder reduction technique, ข้อไหล่หลุดประเภทหลุดเคลื่อนมาทางด้านหน้า, การดึงข้อไหล่ให้เข้าที่