แมกนีเซียมซัลเฟตลดอัตราการเกิด atrial fibrillation หลังการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี: เปรียบเทียบขนาดที่เหมาะสม
นพพล ทักษอุดม*, เจริญ ชีวินเมธาสิริ, กวีศักดิ์ จิตตวัฒนรัตน์, วีระชัย นาวารวงศ์, วาสนา โกเอี่ยม, เพชรา สุทธิวิเศษชัยDepartment of Surgery, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200, Thailand; Phone: +66-53-936411; E-mail: drnoppon@hotmail.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: ภาวะ atrial fibrillation (AF) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยหลังการผ่าตัดหัวใจ และมีผลกระทบต่อระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการรักษา รวมทั้งยังเพิ่มอัตราการทุพพลภาพ และการเสียชีวิต มีการศึกษาพบว่าแมกนีเซียมซัลเฟตสามารถลดภาวะการเกิด AF หลังการผ่าตัดหัวใจโดยเฉพาะการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ แต่ขนาดของยาที่ใช้ยังไม่ได้ระบุชัดเจน
วัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจจำนวน 88 ราย ได้รับการสุ่มแยกผู้ป่วยเป็นสองกลุ่มเพื่อได้รับยาแมกนีเซียมซัลเฟตขนาดสูง (10 กรัม) และขนาดตํ่า (5 กรัม) โดยบรรจุในผลิตภัณฑ์ใหม่ปิดฉลากเป็นขวดที่ 1 (จำนวน 46 ราย) ขวดที่ 2 (จำนวน 42 ราย) ผู้ป่วยได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหลังผา่ ตัด หลังจากนั้นจะประเมินจากอาการทางคลินิกจนกว่าจะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
ผลการศึกษา: ขอ้ มูลพื้นฐานของผู้ป่วยสองกลุม่ โดยรวมไม่แตกต่างกันยกเว้นผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับยาขนาดสูงจะมีน้ำหนักตัวมากกว่า (60.21±11.32 กก. เทียบกับ 65.85±12.2 กก., p = 0.03) และเป็นโรคเบาหวานมากกว่า (52.4% เทียบกับ 28.3%, p = 0.02) ข้อมูลระหว่างผ่าตัดไม่แตกต่างกัน ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยายกเว้นผู้ป่วยหนึ่งรายที่มีอาการร้อนวูบวาบ ปวดมวนท้อง หลังได้รับยา พบว่าระดับแมกนีเซียมหลังผ่าตัดทันทีจะสูงในกลุม่ ที่ไดรั้บยาขนาดสูงและจะกลับสูร่ ะดับปกติอย่างรวดเร็วหลังผ่าตัด
วันที่หนึ่ง ภาวะ AF พบ 9 ราย (10.23%) โดยพบสี่รายในกลุ่มยาขนาดต่ำ และห้ารายในกลุ่มยาขนาดสูง ซึ่งไมมี่ความแตกต่างกันในทางสถิติ (p = 0.62)
สรุป: แมกนีเซียมซัลเฟตมีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการลดภาวะ AF หลังการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่ามีความแตกต่างระหว่างการให้ยาขนาดที่แตกต่างกัน
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2559, July
ปีที่: 99 ฉบับที่ 7 หน้า 794-802
คำสำคัญ
Cardiac surgery, CABG, Magnesium sulfate, Atrial fibrillation