ยา DMPA ยับยั้งการแบ่งเซลล์และเร่งกระบวนการเซลล์แตกตายของเซลล์เยื่อบุมดลูกในสตรีที่มีภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่: การศึกษาแบบสุ่ม
ญาดา ติวธนาธิกุล, โยโกะ ทาวาราซูมิดา, ศรีเธียร เลิศวิกูล, แอนนา วงษ์กุหลาบ*, อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข, เสวก วีระเกียรติ, มรกต สร้อยระย้า, ปิยะฉัตร จันทร์เสละ, นรินทร์ ช่างกลึงเหมาะ, สินีนาฏ ทรงคุ้มครอง, จารุวรรณ ผลเจริญ, ประเสริฐ โศภนDepartment of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, 270 Rama 6 Road, Ratchathewi, Bangkok 10400, Thailand; Phone: +6-2-2012805, Fax: +66-2-2012806; E-mail: anna.wkl@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: การฉีดยาคุมกำเนิดชนิด DMPA ช่วยลดความเจ็บปวดและป้องกันการกลับเป็นซํ้าของภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ได้แต่ยังไม่มีรายงานกลไกของยา DMPA เป็นต้นว่าการแบ่งเซลล์และกระบวนการเซลล์แตกตายของเซลล์
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของ DMPA ต่อการแบ่งเซลล์และกระบวนการเซลล์แตกตายของเซลล์เยื่อบุมดลูกในสตรีที่มีภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
วัสดุและวิธีการ: การศึกษาแบบสุม่ ในสตรีที่มีภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่จำนวน 28 ราย กลุ่มศึกษาจำนวน 14 ราย ไดรั้บการรักษาด้วยการฉีด DMPA 150 มก. ส่วนกลุ่มควบคุมจำนวน 14 ราย ไม่ได้รับการฉีด DMPA อาสาสมัครทั้งหมดได้รับการดูดชิ้นเนื้อเยื่อบุมดลูกก่อนทำการผ่าตัดส่องกล้อง เพื่อศึกษาการแบ่งเซลล์โดยใช้ PCNA ด้วยวิธี ELISA และกระบวนการเซลล์แตกตาย (TUNEL) ด้วยวิธี the quantitative colorimetric analysis ของเซลล์เยื่อบุมดลูก
ผลการศึกษา: ลักษณะทั่วไปของสตรีทั้งสองกลุม่ ไมมี่ความแตกต่างกัน การแบง่ เซลลข์ องเซลล์เยื่อบุมดลูกในกลุม่ ที่ไดรั้บ DMPA มีน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (1.08±0.57 กับ 1.73±0.50, p = 0.014) แต่กระบวนการเซลล์แตกตายของกลุ่มที่ได้รับ DMPA มีมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (1.12±0.36 กับ 0.82±0.39, p = 0.034)
สรุป: การฉีด DMPA 150 มก. ก่อนการผ่าตัด 3 เดือน สามารถยับยั้งการแบ่งเซลล์และเร่งกระบวนการเซลล์แตกตายของเซลล์เยื่อบุมดลูกในสตรีที่มีภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ได้
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2559, July
ปีที่: 99 ฉบับที่ 7 หน้า 751-756
คำสำคัญ
Endometriosis, Apoptosis, Cell proliferation, Depo-medroxyprogesterone, Eutopic endometrium