การส่งเสริมปัญญา: การวิจัยแบบทดลองทางคลินิกของโปรแกรมตามหลักพุทธศาสนาสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย
อารยา เจรนุกูล*, ลินจง โปธิบาล, โรจนี จินตนาวัฒน์, ส่งเสริม แสงทอง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 110 ถ.อินทวโรรส จังหวัดเชียงใหม่ 50200
บทคัดย่อ
ความหวังและการเผชิญปัญหาเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นมะเร็ง ระยะสุดท้าย การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนหลัง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมปัญญาตามหลักพุทธธรรมต่อความหวังและการเผชิญปัญหาในผู้ที่เป็นมะเร็งระยะ สุดท้าย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย 33 ราย ถูกสุ่มเข้ากลุ่ม 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลอง ที่ได้รับโปรแกรม จำนวน 18 ราย และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน จำนวน 15 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนเข้าโปรแกรม หลังสิ้นสุดโปรแกรมทันที หนึ่งเดือนและสองเดือนหลังสิ้นสุด โปรแกรม โดยใช้แบบวัดความหวังของเฮิร์ทและแบบวัดการเผชิญปัญหาของจาโลวีส วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำและสถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่าผู้ที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมปัญญาตามหลักพุทธ ธรรมมีคะแนนความหวังสูงขึ้นตลอดทุกช่วงของการวัด และสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ในช่วงหนึ่งเดือนและสองเดือนหลังสิ้นสุดโปรแกรม นอกจากนี้ยังพบว่า การเผชิญปัญหาด้านการ จัดการกับอารมณ์ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานที่หนึ่ง เดือนและสองเดือน ผลจากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าพยาบาลสามารถนำโปรแกรมมาใช้เป็น แนวทางสำหรับการบำบัดทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความความหวังและลดการใช้วิธีการเผชิญ ปัญหาด้านการจัดการกับอารมณ์ของผู้ที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย
 
ที่มา
Pacific Rim International Journal of Nursing Research ปี 2558, July-September ปีที่: 19 ฉบับที่ 3 หน้า 202-217
คำสำคัญ
Cancer, Randomized controlled trial, COPING, การเจ็บป่วย, Buddhism, Hope, Terminal illness, พุทธศาสนา, มะเร็ง, ความหวัง, การเผชิญปัญหา, การวิจัยแบบทดลองทางคลินิก, ระยะสุดท้าย