การป้องกันภาวะตกเลือกหลังคลอดโดยการให้ยาออกซิโทซินและ เออร์โกเมทรินร่วมกับออกซิโทซิน
ธิติพันธฺุ์ น่วมศิริ*, เกษมสิษฐ์ แก้วเกียรติคุณ
Department of Obstetrics & Gynecology, Faculty of Medicine, Vajira Hospital, Navamindradhiraj University, Bangkok 10300, Thailand; E-mail address: mosmas_flook@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปริมาณเลือดที่ออกหลังคลอดในกลุ่มที่ให้ยาออกซิโทซิน และ เออร์โกเมทรินร่วมกับออกซิโทซินในหญิงที่คลอดทางช่องคลอด
วัสดุและวิธีการ: หญิงตั้งครรภ์จำนวน 323 คน ที่คลอดบุตรทางช่องคลอดที่ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ถูกคัดเข้าร่วมการศึกษา โดยแบ่งผู้เข้าร่วมการศึกษาออกเป็นกลุ่มที่ได้รับยาออกซิโทซินร่วมกับเออร์โกเมทริน และกลุ่มที่ได้รับยาออกซิโทซินอย่างเดียวหลังคลอดทารก โดยเก็บข้อมูลคือ ปริมาณเลือดที่ออกหลังคลอด ภาวะตกเลือดหลังคลอด ระดับฮีโมโกลบินที่เปลี่ยนแปลง การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวมดลูก การให้สารประกอบเลือด และผลข้างเคียงอื่นๆ
ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่าปริมาณเลือดที่ออกหลังคลอดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่มที่ได้ยาออกซิโทซินร่วมกับเออร์โกเมทริน และกลุ่มที่ได้รับยาออกซิโทซินอย่างเดียว (145 [100] ml versus 150 [100] ml, P=0.979) ไม่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดในกลุ่มที่ได้ยาออกซิโทซินร่วมกับเออร์โกเมทริน ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาออกซิโทซินอย่างเดียวมีภาวะตกเลือดหลังคลอด 1 ราย (0.6%, P=0.498) ระดับฮีโมโกลบินที่เปลี่ยนแปลง การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวมดลูก การให้สารประกอบเลือดไม่มีความแตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม และพบความดันโลหิตสูงในกลุ่มที่ได้ยาออกซิโทซินร่วมกับเออร์โกเมทริน มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาออกซิโทซินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (6.2% Vs 0% p<0.001)
สรุป: ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของปริมาณเลือดที่ออกหลังคลอด ระหว่างกลุ่มที่ได้ยาออกซิโทซินร่วมกับเออร์โกเมทริน และกลุ่มที่ได้รับยาออกซิโทซินอย่างเดียว แต่กลุ่มที่ได้ยาออกซิโทซินร่วมกับเออร์โกเมทรินพบความดันโลหิตสูงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาออกซิโทซินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
 
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2559, April ปีที่: 24 ฉบับที่ 2 หน้า 97-103
คำสำคัญ
oxytocin, Prevention, Adverse effects, Blood loss, ergometrine