การศึกษาเปรียบเทียบผลการระงับปวดและผลข้างเคียงในการให้ยาแก้ปวดมอร์ฟีนในช่องน้ำไขสันหลังและการฉีดยาชารอบเส้นประสาท femoral แบบครั้งเดียวในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลแพร่
มิ่งสกุล แดนโพธิ์*, พรพนิต ผุดเพชรแก้ว, จันทนา คำนาค, สุทิวา สุริยนต์
กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลแพร่
บทคัดย่อ
บทนำ: ภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก การใช้เทคนิคต่างๆเพื่อระงับความ
เจ็บปวดให้เพียงพอจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ การให้ยาแก้ปวดมอร์ฟีนในช่องน้ำไขสันหลังและการฉีดยาชารอบเส้นประสาท femoral แบบครั้งเดียว เพื่อระงับอาการปวดหลังการผ่าตัดเป็นวิธีที่ใช้อย่างแพร่หลายและได้ผลดี แต่พบผลข้างเคียงจากการให้ยาแก้ปวดมอร์ฟีนในช่องน้ำไขสันหลังค่อนข้างมาก (คลื่นไส้อาเจียน, อาการคัน, อาการง่วงซึม, การกดการหายใจ)
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการระงับปวดและผลข้างเคียง ระหว่างการให้ยาแก้ปวดมอร์ฟีนทางช่องน้ำไขสันหลัง และการฉีดยาชารอบเส้นประสาทfemoral แบบครั้งเดียว ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
ในโรงพยาบาลแพร่
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ single-blind randomized controlled trial ผู้ป่วยจำนวน 50 ราย ที่เข้ารับการ
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมข้างเดียว จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน โดยวิธีการสุ่มเลือกจากซองจดหมายปิดผนึก กลุ่มที่ 1: ได้รับยาแก้ปวดมอร์ฟีนทางช่องน้ำไขสันหลัง (Intrathecal morphine: ITM) ทำการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนด้วย 0.5% hyperbaric bupivacaine 13 mg + morphine 0.2 mg กลุ่มที่ 2: ได้รับการฉีดยาชารอบเส้นประสาทfemoral แบบครั้งเดียว(Single-shot femoral nerve block: FNB) ทำการฉีดยาชารอบเส้นประสาทfemoral ด้วยยาชา 0.5% bupivacaine จำนวน 20 ml. โดยใช้เครื่องกระตุ้นเส้นประสาทด้วยกระแสไฟฟ้าในการหาตำแหน่งเส้นประสาท หลังจากนั้น ทำการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน(Spinal anesthesia)ด้วย 0.5% hyperbaric bupivacaine 13 mg หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการประเมินและบันทึกในเรื่องของคะแนนความเจ็บปวด ปริมาณยามอร์ฟีนที่ได้รับ และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลา1, 4, 8, 12, 16, 20 และ 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัดความพึงพอใจของผู้ป่วยจะได้รับการประเมินที่ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
ผลการศึกษา: ในเรื่องของคะแนนความปวดพบว่ากลุ่ม ITM มีคะแนนความปวดน้อยกว่ากลุ่ม FNB ในช่วงเวลา 1, 4 และ 8 ชั่วโมงหลังผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนช่วงเวลาที่ 12, 16, 20 และ 24 ชั่วโมงหลัง
ผ่าตัดไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ปริมาณยามอร์ฟีนสะสมที่ได้รับพบว่ากลุ่ม ITM ได้รับปริมาณยามอร์ฟีนรวมในช่วงเวลา 1, 4, 8, 12, 16 และ 20 ชั่วโมงหลังผ่าตัด น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อครบ 24 ชั่วโมง พบว่าปริมาณยามอร์ฟีนสะสมที่ได้รับไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองกลุ่ม กลุ่ม FNB มีอุบัติการณ์ของผลข้างเคียง (อาการคลื่นไส้อาเจียน, อาการคัน, อากาง่วงซึม) น้อยกว่ากลุ่ม ITM อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องของความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
สรุป: การฉีดยาชารอบเส้นประสาท femoral แบบครั้งเดียวมีประสิทธิภาพในการระงับปวดหลังการผ่าตัด
เปลี่ยนข้อเข่าเทียมน้อยกว่าการให้ยาแก้ปวดมอร์ฟีนในช่องน้ำไขสันหลัง ในช่วง 8 ชั่วโมงแรกหลังการ
ผ่าตัด แต่หลังจากนั้นจนถึง 24 ชั่วโมง ให้ผลการระงับปวดไม่แตกต่างกัน และพบอุบัติการณ์ของผล
 
ที่มา
Journal of the Phrae Hospital ปี 2558, January-June ปีที่: 23 ฉบับที่ 1 หน้า 1-10
คำสำคัญ
Femoral nerve block, intrathecal morphine, postoperative analgesia, Total knee arthroplasty, มอร์ฟีนในช่องน้ำไขสันหลัง, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข้าเทียม, การฉีดยาชารอบเส้นประสาท femoral แบบครั้งเดียว, การให้ยาแก้ปวด, การระงับปวดหลังการผ่าตัด