การระงับความรู้สึกด้วยเลโวบูพิวาเคนและบูพิวาเคนทางช่องน้ำไขสันหลังเพื่อการผ่าตัดผ่านท่อปัสสาวะโดยกล้อง
โอภาส หว่านนา*, ละไม ชุมแสง, ศรินรา ทองมี, ละไม ชุมแสง, ศรินรา ทองมี, โอภาส หว่านนา
Department of Anesthesiology, Sappasitthiprasong Hospital, Ubon Ratchatani 34000, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: บูพิวาเคนเป็นยาชาซึ่งเป็นส่วนผสมของเด็กโตรบูพิวาเคน และเลโวบูพิวาเคน ซึ่งมีการศึกษาพบว่าเด็กโตรบูพิวาเคนมีผลเป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง และระบบไหลเวียนเลือดมากกว่าเลโวบูพิวาเคน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดู ประสิทธิภาพทางคลินิก และความปลอดภัยของเลโวบูพิวาเคนเทียบกับบูพิวาเคนที่ฉีดเข้าช่องน้ำไขสันหลังวัสดุและวิธีการ: สุ่มตัวอย่างแบ่งผู้ป่วยซึ่งเข้ารับการผ่าตัดผ่านทางท่อทางเดินปัสสาวะด้วยกล้อง ที่ ต้องการระดับการชา T10 โดยใช้เทคนิคฉีดยาชาเข้าทางช่องน้ำไขสันหลัง 70 ราย โดยกลุ่มที่ 1 จำนวน 35 ราย ไดัรับ 0.5% ไอโซแบริคเลโวบูพิวาเคน 2.5 มล. กลุ่มที่ 2 จำนวน 35 ราย ได้รับ0.5% ไฮเปอร์แบริคบูพิวาเคน 2.5 มล.โดยการสุ่มตัวอย่างและปกปิดทั้ง 2 กลุ่มผลการศึกษา: ทั้ง 2 กลุ่มที่ทำการศึกษาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแง่ของระยะเวลา ตั้งแต่ฉีดยาจนยาชาเริ่มออกฤทธิ์ระงับปวด ระยะเวลาระงับปวด ระยะเวลาที่เริ่มชาลดลง 2 ระดับ ระดับชาลดลงถึง T12 ระยะเวลาตั้งแต่ฉีดยาชาจนกล้ามเนื้อเริ่มหย่อนตัว ระยะเวลาที่กล้ามเนื้อหย่อนตัว ระดับความเจ็บปวดขณะเริ่มผ่าตัดผลไม่พึงประสงค์สรุป: การศึกษานี้แสดงให้ทราบว่า 0.5% ไอโซแบริค เลโวบูพิวาเคน และ 0.5% ไฮเปอร์แบริค เรซมิคบูพิวาเคน ขนาด 2.5 มล.สำหรับการฉีดเข้าทางช่องน้ำไขสันหลัง มีประสิทธิภาพในการระงับความรู้ สึกที่ไม่แตกต่างกันทั้งระยะเวลายาชาเริ่มออกฤทธิ์ระงับปวด ระยะเวลาระงับปวด และผลข้างเคียง
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, August ปีที่: 89 ฉบับที่ 8 หน้า 1133-1139
คำสำคัญ
Endoscopic, Intrathecal, Local anesthetics, Regional anesthesia, Spinal anesthesia, Transurethral, Urologic