การศึกษาทดลองแบบสุ่ม วิธีการใช้หัตถการอย่างง่ายเพื่อลดอาการปวดไหล่หลังการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชวิทยาที่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
ฉัตรชัย ัจันทร์ทวีทิพย์Department of Obstetrics and Gynecology, Maharat Nakhonratchasima Hospital, Nakhonratchasima, Thailand. Email: chatchaiob13@gmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการใช้หัตถการลดอาการปวดไหล่หลังการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยหญิง 104 ราย ที่นัดมาเพื่อผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช ได้รับการสุ่มและสมัครใจเข้าร่วมการศึกษา โดย 54 รายในกลุ่มควบคุมได้รับการระบายก๊าซ CO2 ออกจากช่องท้องตามวิธีมาตรฐานหลังการผ่าตัดผ่านกล้อง และอีก 50 รายในกลุ่มทดลองได้รับการระบายก๊าซ CO2 ออกจากช่องท้องหลังการผ่าตัดผ่านกล้องโดยการปรับศีรษะให้ต่ำ 30 องศา (Trendelenburg position) ร่วมกับการขยายปอดให้เต็มที่ (manual pulmonary inflation) 5 รอบ ประเมินอาการปวดไหล่หลังการผ่าตัดที่ 24 และ 48 ชั่วโมง โดยใช้ verbal rating scale (VRS 1-6)
ผลการศึกษา: ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของ อายุ ระยะเวลาในการผ่าตัด ชนิดการผ่าตัด น้ำหนักของทั้งสองกลุ่ม ระยะเวลาการนอนที่โรงพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มควบคุมใช้เวลา 2.5 (+0.57) วัน กลุ่มทดลองใช้เวลา 2.1 (+0.47) วัน (p< 0.001) พบอาการปวดไหล่หลังการผ่าตัดผ่านกล้อง (VRS 2-6) ในกลุ่มทดลอง 11 รายใน 50 ราย ( 22% ) และ กลุ่มควบคุม 34 รายใน 54 ราย( 63% ) ( P < 0.001)
สรุป: วิธีการดังกล่าวสามารถลดอาการปวดไหล่หลังการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2559, January
ปีที่: 24 ฉบับที่ 1 หน้า 57-63
คำสำคัญ
Laparoscopic surgery, gynecologic, reducing shoulder pain