การเปรียบเทียบผลของการอบไอน้ำสมุนไพรไทยและการอบไอน้ำธรรมดาต่อความยืดหยุ่นของร่างกาย
ศิรินทิพย์ คำฟู*, พนิดา หาญพิทักษ์พงศ์, ใหม่ทิพย์ สิทธิตัน, พลากร อุดมกิจปกรณ์, ณัฐพล วงศ์คำแดง, ดวงกมล ศรีสังข์, รัชนก น้อยสกุล, ทัศนีย์ ขุนชัย, ประไพพักตร์ สาริกา, อรอนงค์ อินต๊ะมา
สาขากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการ บาดเจ็บของกล้ ามเนื้อจากการทำงาน คือการขาดความยืดหยุ่นของร่างกาย การอบไอน้ำสมุนไพรเป็นวิธีในการรักษาอาการ เมื่อยล้าทางระบบกล้ามเนื้อ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาใดที่ศึกษาถึงผลการอบไอน้ำสมุนไพรต่อความยืดหยุ่นของ ร่างกาย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการอบไอน้ำสมุนไพรไทยและการอบไอน้ำธรรมดาต่อการ เปลี่ยนแปลงความยืดหยุ่นของร่างกายในเพศหญิงที่มีความ ยืดหยุ่นต่ำถึงปานกลาง
วิธีการศึกษา: อาสาสมัครในครั้งนี้ จำนวน 26 ราย เป็นเพศ หญิงที่มีความยืดหยุ่นต่ำถึงปานกลางจากการประเมินความ ยืดหยุ่นของหลังและขาโดยการทดสอบการนั่งงอตัว (Sit and reach test) มีค่าน้อยกว่า12 ซม. และประเมินความ ยืดหยุ่นของข้อไหล่ด้วยการทดสอบการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ (Shoulder girdle flexibility test) มีค่าน้อยกว่า+2 ซม. โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการอบ ไอน้ำสมุนไพรไทย 13 ราย และกลุ่มที่รับการอบไอน้ำธรรมดา13 ราย ได้รับโปรแกรมการอบไอน้ำครั้งละ 30 นาที จำนวน 3 วันต่อสัปดาห์ ระยะเวลา4 สัปดาห์ โดยประเมินค่าความ ยืดหยุ่น ก่อนและหลังเสร็จสิ้นโปรแกรม
 ผลการศึกษา: กลุ่มที่ได้รับการอบไอน้ำสมุนไพรไทยมีความ ยืดหยุ่นของหลังและขาเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการอบไอน้ำธรรมดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.03) ความยืดหยุ่นของ หลังและขาก่อนเข้ารับการอบไอน้ำของกลุ่มอบไอน้ำธรรมดาคือ 3.12 ± 5.69 ซม. และกลุ่มอบไอน้ำสมุนไพรไทย คือ 4.73 ± 6.15 ซม. หลังการอบไอน้ำกลุ่มอบไอน้ำธรรมดาคือ 7.92 ± 5.14 ซม. และกลุ่มอบไอน้ำสมุนไพรไทย คือ 12.87 ± 6.19 ซม.
สรุป: การอบไอน้ำสมุนไพรไทยช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นกล้าม เนื้อหลังและขาในเพศหญิงที่มีความยืดหยุ่นต่ำถึงปานกลางได้ ดีกว่าการอบไอน้ำธรรมดาเพียงอย่างเดียว
 
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2558, November-December ปีที่: 30 ฉบับที่ 6 หน้า 592-597