เปรียบเทียบอัตราความสำเร็จของการสอดสายเข้าหลอดเลือดแดง radial ด้วยเทคนิคอัลตราซาวด์และการคลำชีพจรในผู้ป่วยผู้ใหญ่
สุวิมล ต่างวิวัฒน์*, วลัยพร พันธ์กล้า, ปราณี รัชตามุขยนันต์, พิชยา ไวทยะวิญญู, ตฤษณา สุนทราคม, อัญชลา จิระกุลสวัสดิ์
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, 2 Wanglang Road, Bangkoknoi, Bangkok 10700, Thailand; Phone: +66-2-4197989, +66-2-4113256; E-mail: stangwiwat@yahoo.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: การศึกษาก่อนหน้านี้รายงานความสำเร็จของการสอดสายเข้าหลอดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้น โดยอัลตราซาวด์ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กเมื่อเทียบกับการคลำชีพจรแต่ยังไม่สรุปชัดเจนถึงความสำเร็จในผู้ทำหัตถการที่มีประสบการณ์น้อยในเทคนิคอัตราซาวด์ในผู้ป่วยผู้ใหญ่
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้เปรียบเทียบการสอดสายเข้าหลอดเลือดแดง radial ด้วยเทคนิคอัลตราซาวด์และการคลำชีพจรในแง่ความสำเร็จ เวลาที่ใช้จำนวนครั้งของการแทงเข็ม
วัสดุและวิธีการ: การศึกษาเป็นแบบการศึกษาควบคุมแบบสุ่ม หลังการผ่านการอนุมัติของกรรมการการวิจัยในคนที่โรงพยาบาลศิริราช ในช่วงเวลาเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2553 ผู้ทำหัตถการคือแพทย์ประจำบ้าน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 10 คน โดยมีประสบการณ์การแทงหลอดเลือดโดยอัลตราซาวด์น้อยกว่า 3 ครั้ง ได้รับการฝึกปฏิบัติกับหุ่นจำลองเนื้อหมูก่อนเก็บการศึกษา ผู้ป่วย 10 คนต่อแพทย์ประจำบ้าน 1 คน ได้รับการแบ่งกลุ่มโดยการสุ่มเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 5 คน กลุ่มอาศัยอัลตราซาวด์ (US-group) และกลุ่มอาศัยการคลำชีพจร (P-group)
ผลการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เข้ารับผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาท 100 คนไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างกลุ่มอาศัยอัลตราซาวด์ (US-group) และกลุ่มอาศัยการคลำชีพจร (P-group) ในแง่ของความสำเร็จ (78% และ  82%; p = 0.62) เวลาที่ใช้ในการสอดสายเข้าหลอดเลือดแดงสำเร็จ (60 (12.8, 547.0) และ 52 (6.9, 639.0) วินาที; p = 0.22) (52.6±33.3 และ 36.1±24.7 วินาที; p = 0.22) และจำนวนการแทงเข็ม (1 (1, 3) และ (1, 4); p = 0.82) ความสำเร็จของการสอดสายเข้าหลอดเลือดแดง radial คือไม่เปลี่ยนตำแหน่งไปแขนอีกข้าง ผู้ทำหัตถการและเทคนิค
สรุป: ไม่พบความแตกต่างของความสำเร็จ เวลาที่ใช้ และจำนวนการแทงเข็มของการสอดสายเข้าหลอดเลือดแดง radial โดยอัลตราซาวด์ เมื่อเทียบกับอาศัยการคลำชีพจร ผลการศึกษาต่างจากการศึกษาก่อนหน้านี้อาจเป็นได้จากประสบการณ์น้อยของผู้ทำหัตถการโดยเทคนิคอัลตราซาวด์ ขณะที่ประสบการณ์มากโดยเทคนิคคลำชีพจร
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2559, March ปีที่: 99 ฉบับที่ 5 หน้า 505-510
คำสำคัญ
Ultrasound, palpation, Radial artery, Cannulation technique, Experience