การเปรียบเทียบระหว่างยากิน ramosetron กับยาหลอกเพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังจากได้รับยา morphine ทางน้ำไขสันหลังในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวช
สุรัสวดี วังน้ำทิพย์*, ฐิติมา ชินะโชติ, สมชาย อมรโยธิน, กรุณา วงศ์ตั้งมั่น, น้ำผึ้ง สุคันธรัต, พาพิรุณ น้อยตาแสง
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, 2 Wanglang Road, Bangkoknoi, Bangkok 10700, Thailand; Phone: +66-2-4197995, Fax: +66-2-4113256; E-mail: suratsawadee.wan@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: อัตราการเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังได้รับยา morphine ทางช่องไขสันหลังค่อนข้างสูง ซึ่งยาramosetron เป็นยากลุ่ม 5HT receptor antagonists ได้แสดงให้เห็นว่าสามารถลดอาการคลื่นไส้-อาเจียน ในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย ดังนั้นจุดประสงค์ในการทำวิจัยนี้ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยากิน ramosetron 0.1 มก. ในการป้องกันอาการคลื่นไส้-อาเจียน หลังได้รับยา morphine ทางช่องไขสันหลังในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดนรีเวช
วัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยจำนวน 165 คน ที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวชภายใต้การระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังถูกสุ่มออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ ยากิน ramosetron 0.1 มก. (n = 82) และยาหลอก (n = 83) โดยจะประเมินอัตราการเกิดความรุนแรงและจำนวนการใช้ยาเพื่อรักษาอาการคลื่นไส้และอาเจียนหลังผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง
ผลการศึกษา: อัตราการเกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนหลังผ่าตัดในกลุ่มที่ได้รับยากิน ramosetron ต่ำกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (24.4% vs.44.6%, NNT = 5) และความรุนแรงของอาการคลื่นไส้ในกลุ่มยากิน ramosetron น้อยกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (20.7% vs 39.8%, NNT =6.0) หลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง
สรุป: ยากิน ramosetron 0.1 มก. มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดอาการคลื่นไส้-อาเจียน และลดความรุนแรงในการเกิดอาการหลังได้รับยา morphine ทางช่องไขสันหลังหลังการผ่าตัดทางนรีเวช 24 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับยาหลอก
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2559, March ปีที่: 99 ฉบับที่ 5 หน้า 455-461
คำสำคัญ
intrathecal morphine, ramosetron, Postoperative nausea and vomiting, Gynecological surgery