การศึกษาผลของยา ketamine ขนาดตํ่าในการป้องกันการสั่นหลังจากการดมยาสลบในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกและข้อ: การศึกษาควบคุมแบบสุ่ม
สุทธาสินี เพชรสกุล*, ชณัฐี กิจศิริพันธ์, ภัณฑิลา รุจิโรจน์จินดากุล, อำพรรณ จันทโรกร, อาภรณ์ จุลบุญญาสิทธิ์, ศรัณยู ถิ่นจะนะ
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla 90110, Thailand; Phone: +66-95-4402296, Fax: +66-74-429621; E-mail: p.suttasinee@gmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การสั่นหลังจากการดมยาสลบเป็นภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยหลังจากการผ่าตัด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของยา ketamine กับ normal saline ในการป้องกันการสั่นหลังจากการดมยาสลบในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดกระดูกและข้อในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในห้องพักฟื้น
วัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วย ASA classification I-III อายุ 18-65 ปี และได้รับการดมยาสลบในการผ่าตัดกระดูกและข้อ จำนวน 183 ราย ผู้ป่วยจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการสุ่มโดยใช้ computer-generated randomization ผู้ป่วยกลุ่ม K จำนวน 91 ราย จะไดรั้บ ketamine ขนาด 0.25 มก./กก. ส่วนผู้ป่วยกลุ่ม P จำนวน 92 ราย จะได้รับ normal saline ก่อนเสร็จการผ่าตัด 20 นาที ผู้ป่วยทุกรายจะถูกวัดอุณหภูมิที่เยื่อแก้วหูก่อนดมยาสลบ หลังดมยาสลบ 30 นาที ก่อนให้ยาวิจัยและระหว่างอยู่ในห้องพักฟื้นเป็นเวลา 30 นาที ระหว่างอยู่ในห้องพักฟื้นผู้ป่วยจะได้รับการประเมินการสั่นโดยใช้ Crossley and Mahajan scale และประเมินภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
ผลการศึกษา: อุบัติการณ์การสั่นหลังการดมยาสลบทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ กลุ่ม K = 13 (14.28%) และกลุ่ม P = 15 (16.30%), p = 0.42 และพบว่าไม่มีภาวะประสาทหลอนเกิดขึ้นกับผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม นอกจากนี้ ยังพบว่าภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นอื่นๆ ในทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ไม่มีความแตกต่างของประสิทธิผลระหว่างการใช้ ketamine 0.25 มก./กก. และกลุ่มควบคุม สำหรับการป้องกันการสั่นหลังจากการดมยาสลบในผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดกระดูกและข้อ ปัจจัยอื่น เช่น การให้สารนํ้าอุ่นทางหลอดเลือดดำ การใช้เครื่องให้ความอบอุ่นในระหว่างผ่าตัด และควบคุมคุมอุณหภูมิห้องผ่าตัด อาจช่วยป้องกันการสั่นหลังจากการดมยาสลบ
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2559, March ปีที่: 99 ฉบับที่ 4 หน้า 400-405
คำสำคัญ
Prevention, Orthopedic surgery, Low-dose ketamine, Post anesthetic shivering, Side effect