ต้นทุนการเจ็บป่วยโรคหืดหอบในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
สุดธิณีย์ หฤทัยเปรมปรีดิ์*, สมชาย ธนะสิทธิชัย, อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ, อาคม ชัยวีระวัฒนะ, ลำยอง ไกรฤทธิชัย
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
บทคัดย่อ
มะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในสตรีไทย การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยวิธีการแมมโมแกรมช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้ แต่ด้วยข้อจำกัดของจำนวนและการกระจายของเครื่องแมมโมแกรมภาระงานของงานรังสีวินิจฉัย หรือถิ่นที่อยู่อาศัยและความจำเป็นในการทำงานเพื่อดำรงชีพของประชาชนไม่เอื้อต่อการเข้าถึงบริการ รถถ่ายภาพรังสีเต้านมชนิดเคลื่อนที่ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการแก่ประชาชน แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาต้นทุนต่อหน่วย ความคุ้มทุนและผลลัพธ์ของการคัดกรองด้วยวิธีนี้ในประเทศไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วย จุดคุ้มทุน และผลของการให้บริการตรวจวัดคัดกรองมะเร็งเต้านมเชิงรุกด้วยรถถ่ายภาพรังสีเต้านมชนิดเคลื่อนที่ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ โดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์ต้นทุนแบบมาตรฐาน ในมุมมองผู้ให้บริการ รวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง และการศึกษาย้อนหลัง ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนเท่า 4,142.21 บาท จุดคุ้มทุนคือจำนวนผู้รับบริการ 75,359 ราย อัตราการตรวจพบมะเร็งเต้านมในภาพรวม และในสตรีที่อายุ ≤39 ปี คิดเป็น 7.445 และ 5.995 ต่อหนึ่งพันประชากร ตามลำดับ รถภาพถ่ายรังสีเต้านมชนิดเคลื่อนที่ มีต้นทุนต่อหน่วยสูงเป็นสองเท่าเมื่อเปรียบเทียบกับรายการต้นทุนมาตรฐานที่ปี พ.ศ. 2552 เนื่องจากมีต้นทุนค่าลงทุนและค่าแรงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การให้บริการด้วยวิธีนี้ทำให้พบว่าอัตราการตรวจพบมะเร็งเต้านมในสตรีที่อายุ ≤ 39 ปี เพิ่มสูงขึ้น(สัดส่วน3:8:1) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการป้องกันต่อไป โดยการรณรงค์ให้สตรีกลุ่มอายุ ≤ 39 ปี ตระหนักที่จะตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ  และหากพบความผิดปรกติของเต้านม ควรไปพบแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรม เพื่อตรวจและประเมินความผิดปรกติ ควรมีกลยุทธ์หรือกลวิธี เพื่อเพิ่มจำนวนผู้รับบริการร่วมกับการปรับอัตราค่าบริการ ซึ่งทางเลือกที่เป็นไปได้ที่จะทำให้คุ้มทุนภายในระยะเวลา 10 ปี คือ ควรมีจำนวนผู้รับบริการปีละ 5912 ราย ร่วมกับปรับอัตราค่าบริการขั้นต่ำสุด จาก1,700 บาท เป็น 1,860 บาท นอกจากนี้ควรมีแนวทางเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันลงหรือไม่ให้เพิ่มขึ้นในอนาคต 
ที่มา
วารสารโรคมะเร็ง ปี 2559, January-March ปีที่: 36 ฉบับที่ 1 หน้า 21-29
คำสำคัญ
Unit cost, ต้นทุนต่อหน่วย, mammography mobile unit, breast cancer screening, รถถ่ายภาพรังสีเต้านมชนิดเคลื่อนที่, การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเชิงรุก