การใช้พาราเซตามอลเพื่อลดความปวดจากการเจาะน้ำคร่ำตรวจทางพันธุกรรม: การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
วรลักษณ์ เอี่ยมสำอางค์
กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลลำปาง 280 ถ.พหลโยธิน ต.หัวเวียง อ.เมือง จ.ลำปาง 52000 โทร 0-5423-7400 ต่อ 8321 Email: iampuk285@yahoo.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง
                การเจาะน้ำคร่ำเป็นหัตถการรุกล้ำ สตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มีความกังวลและกลัวความเจ็บปวดที่จะเกิดขึ้น การใช้ยาระงับปวดก่อนเจาะน้ำคร่ำอาจช่วยลดความวิตกกังวลและบรรเทาความปวดได้
 
วัตถุประสงค์
                เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยาพาราเซตามอลในการลดความปวดจากการเจาะน้ำคร่ำตรวจทางพันธุกรรม
 
วัสดุและวิธีการ
                เป็นการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในสตรีตั้งครรภ์ที่มารับการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจทางพันธุกรรม ณ กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม รพ.ลำปาง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 –  เมษายน 2558 กลุ่มทดลองที่ได้รับประทานยาพาราเซตามอล 1,000 มก. กลุ่มควบคุมรับประทานยาหลอก 30 นาทีก่อนเจาะน้ำคร่ำ ประเมินคะแนนความปวด visual analog score ที่คาดไว้ก่อนและหลังการเจาะน้ำคร่ำ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วย Fisher’s exact probability test, student t-test และ rank sum test
 
ผลการศึกษา
                ข้อมูลจากสตรีตั้งครรภ์ทั้งหมด 80 ราย พบว่า คะแนนความปวดที่คาดไว้ก่อนเจาะน้ำคร่ำเฉลี่ย 7.2  ± 2.2 ในกลุ่มทดลองและ 6.8 ± 1.9 ในกลุ่มควบคุม(p=0.304)ภายหลังการเจาะน้ำคร่ำมีคะแนนความปวดเฉลี่ย 3.2  ± 1.8 ในกลุ่มทดลองและ 3.2  ± 2.0 ในกลุ่มควบคุม (p=0.953)
 
สรุป
                ยาพาราเซตามอลและยาหลอกช่วยลดระดับความปวดจากการเจาะน้ำคร่ำได้ไม่แตกต่างกัน
 
ที่มา
Lampang Medical Journal ปี 2558, July-December ปีที่: 36 ฉบับที่ 2 หน้า 47-53
คำสำคัญ
pain, Amniocentesis, ความเจ็บปวด, Paracetamol, พาราเซตามอล, การเจาะน้ำคร่ำ