การเปรียบเทียบผลการรักษากระดูกหน้าแข้งส่วนปลายหักด้วยวิธีการผ่าตัดเปิดแผลมาตรฐานกับการผ่าตัดเปิดแผลเล็ก
นัทพันธุ์ คีรีวิเชียรDivision of Orthopaedics, Nakhonpathom Hospital, Nakhonpathom, Thailand; E-mail: nuttaphan_nph@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์
เปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งส่วนปลายหักระหว่างวิธีการผ่าตัดเปิดแผลมาตรฐานกับวิธีการผ่าตัดเปิดแผลเล็ก
วิธีการศึกษา
ได้ทำการศึกษาแบบสุ่มตัวอย่างไปข้างหน้าโดยแบ่งผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งส่วนปลายหักทั้งแบบแผลปิดและแบบแผลเปิดระดับที่ 1 ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยที่กลุ่มที่ 1 ใช้วิธีการผ่าตัดเปิดแผลมาตรฐานและกลุ่มที่ 2 ใช้วิธีการผ่าตัดเปิดแผลเล็กโดยใช้อุปกรณ์ distal tibia locking plate ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนกุมภาพันธุ์ พ.ศ.2556 ในโรงพยาบาลนครปฐมเปรียบเทียบในเรื่องของระยะเวลาในการผ่าตัด ระยะเวลาในการติดของกระดูก ผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นและวัดผลลัพธ์ที่เกิดจากการใช้งานโดยอาศัย clinical rating system for the ankle ของ Teeny and Wiss criteria ที่ระยะเวลา 6 เดือนหลังการผ่าตัด
ผลการศึกษา
ศึกษาในผู้ป่วยทั้งหมด 36 รายแบ่งเป็นการผ่าตัดแผลมาตรฐาน 21 รายและการผ่าตัดเปิดแผลเล็ก 15 ราย พบว่าระยะเวลาการผ่าตัดของทั้งสองวิธีไม่มีความแตกต่าง (P=1.0) ระยะเวลาในการเชื่อมติดของกระดูกทางเอ็กซเรย์ของทั้งสองวิธีไม่มีความแตกต่างกัน (P=0.18) ผลลัพธ์จากการใช้งานจาก Teeny and Wiss criteria ของทั้งสองวิธีไม่มีความแตกต่างกัน (P=0.55) อัตราการติดเชื้อที่ผิวหนังของทั้งสองวิธีไม่มีความแตกต่างกัน(P=0.20) ผลจากการผ่าตัดทั้งสองวิธีไม่พบกระดูกติดผิดรูปและไม่พบกระดูกติดช้า
สรุป
การผ่าตัดเปิดแผลเล็กมีผลลัพธ์ไม่แตกต่างกันกับการผ่าตัดเปิดแผลมาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งส่วนปลายหัก
ที่มา
วารสารราชวิทยาลัยแพทย์ออโธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ปี 2556, April-October
ปีที่: 37 ฉบับที่ 2-4 หน้า 35-41
คำสำคัญ
Functional outcome, Distal tibia fractures, ORIF, MIPO, infection rate