การเปรียบเทียบผลของยาแอมมิโอดาโรน กับยาแอมมิโอดาโรนร่วมกับยาดีจ็อกซิน บริหารทางหลอดเลือดดำในการควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะเอเตรียมฟิบริลเลชั่นชนิดเฉียบพลันที่รักษาตัวหอบริบาลผู้ป่วยวิกฤต
สมชาย ปรีชาวัฒน์, อภิชัย คงพัฒนะโยธิน, สราวุฒิ ศิวโมกษธรรม*
Division of Cardiology, Department of Medicine, the King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok, Thailand
บทคัดย่อ
บทนำ: เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับยาที่ใช้ในการรักษาเพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจเอเตรียมฟิบริลเลชั่นชนิดเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต ประกอบกับยาแอมมิโอดาโรนดีจ็อกซินเพียงอย่างเดียวมีประสิทธิภาพไม่ดีเต็มที่นัก จึงมีแนวคิดที่จะใช้ยา 2 ชนิดดังกล่าวร่วมกันซึ่งไม่มีข้อมูลศึกษามาก่อนวัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อประเมินประสิทธิภาพของยาแอมมิโอดาโรนร่วมกับยาดีจ็อกซิน ทางหลอดเลือดดำ เปรียบเทียบกับยาแอมมิโอคาโรนบริหารทางหลอดเลือดดำเพียงอย่างเดียว ในการควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยที่รักษาตัวในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะเอเตรียมฟิบริลเลชั่นชนิดเฉียบพลันรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงวิเคราะห์ชนิดกลุ่มเปรียบเทียบ จัดแบ่งกลุ่มประชากรแบบสุ่มอย่างง่าย โดยผู้ป่วยและผู้ทำการวิจัยทราบว่าใช้ยาชนิดใดระเบียบวิธีวิจัย: ผู้ป่วยวิกฤตที่เกิดเอเตรียมฟิบริลเลชั่นชนิดเฉียบพลันจำนวน 42 รายที่มีอัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับยา ยาแอมมิโอดาโรน ทางหลอดเลือดดำ (5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเป็นเวลา 30 นาที ต่อด้วย 1 มิลลิกรัมต่อนาทีเป็นเวลา 6 ชั่วโมงต่อด้วย 0.5 มิลลิกรัมต่อนาที) กลุ่มที่ 2 ได้รับยาแอมมิโอดาโรน ขนาดเดียวกัน ร่วมกับยาดีจ็อกซินทางหลอดเลือดดำ (0.25 มิลลิกรัมทุก 2 ชั่วโมงรวม 0.75 มิลลิกรัม เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจหลังได้รับยา 8 ชั่วโมง และเฝ้าสังเกตอาการไม่พึงประสงค์ผลการวิจัย: ที่เวลา 8 ชั่วโมงกลุ่มที่ได้รับยาแอมมิโอดาโรนอย่างเดียวและยาแอมมิโอดาโรนร่วมกับยาดีจ็อกซินมีประสิทธิภาพในการลดอัตราการเต้นของหัวใจด้วยกันทั้ง 2 กลุ่ม จาก 134 21.7 ครั้งต่อนาทีมาเหลือ 95.4 26.6 ครั้งต่อนาที (p<0.001) และ 140 16.2 ครั้งต่อนาทีมาเหลือ 91.5 25.4 ครั้งต่อนาที (p < 0.001) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่าง 2 กลุ่ม พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาร่วมกันสามารถลดอัตราการเต้นของหัวใจได้มากกว่าอีกกลุ่มเล็กน้อย แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.64) พบอาการไม่พึงประสงค์ ชนิดความดันโลหิตต่ำชั่วขณะ และหลอดเลือดอักเสบเท่ากันทั้ง 2 กลุ่ม  (5 และ 1 ราย ตามลำดับ) แต่พบ bradyarrhythmia จำนวน 4 ราย เฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 เท่านั้น (1 รายเกิด complete heart block) แต่ไม่พบอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตสรุป: ประสิทธิภาพของยาแอมมิโอดาโรนร่วมกับยาดีจ็อกซินในการควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจเทียบกับยาแอมมิโอดาโรน บริหารทางหลอดเลือดดำ ไม่แตกต่างกัน แต่เพิ่มโอกาสของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์
ที่มา
วารสารโรคหัวใจ ปี 2548, October ปีที่: 18 ฉบับที่ 4 หน้า 111-118