ผลของการกดจุด LI4 และ BL32 ต่อความเจ็บปวดในระยะที่หนึ่งของการคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก
ดาว แดงดี*, เอมพร รตินธร, ฉวีวรรณ อยู่สำราญ, สมชัย โกวิทเจริญกุล
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการกดจุด LI4 และ BL32 ต่อความเจ็บปวดในระยะที่หนึ่งของการคลอด
ในผู้คลอดครรภ์แรก
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดที่มาคลอดที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ระหว่างเดือน
พฤษภาคม - มิถุนายน 2557 จำนวน 50 ราย แบ่งกลุ่มโดยการสุ่มด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 ราย กลุ่มทดลองได้รับการกดจุด LI4 และ BL32 ทั้งสองข้างจุดละ 5 นาที รวมทั้งสิ้น 20 นาที กลุ่มควบคุม ได้รับการสัมผัสแทนการกดจุดทำการวดั คะแนนความเจ็บปวดก่อนการกดจุดหลังการกดจุดทันที 30 นาที และ 60 นาที โดยใช้ Visual Analogue Scale (VAS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์ สถิติวิคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบมีการวัดซ้ำและสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม
ผลการวิจัย : พบว่าค่าเฉลี่ยความเจ็บปวดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < .05 หลังกดจุดทันที และ 30 นาที พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความเจ็บปวดที่ปรับแก้
น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่าเฉลี่ยความแตกต่างระหว่างกลุ่มเท่ากับ  -15.11 (95%
CI = -23.60 ถึง -6.63) และ -12.45 (95% CI = - 21.66 ถึง -3.25) ตามลำดับ แต่ไม่มีความแตกต่างของ
ค่าเฉลี่ยความเจ็บปวดที่ 60 นาทีหลังการกดจุด (p = .109)
สรุปและข้อเสนอแนะ: การกดจุด LI4 และ BL32 เป็นวิธีการจัดการความเจ็บปวดที่มีประสิทธิภาพ และ
ไม่พบภาวะแทรกซ้อนใดๆ ต่อมารดาหรือทารกในครรภ์ในการศึกษาครั้งนี้ พยาบาลผดุงครรภท์ไม่ได้รับการฝึกกดจุดอาจนำการกดจุดมาใช้ในการจัดการเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในระยะที่ 1 ของการคลอดร่วมกับวิธีอื่นๆ ได้
 
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2558, October-December ปีที่: 33 ฉบับที่ 4 หน้า 15-26
คำสำคัญ
labor pain, เจ็บครรภ์คลอด, การกดจุด, Acupressure, pain management, การจัดการความเจ็บปวด