การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการระงับปวดภายหลังการผ่าตัดกระดูกสะโพกหักด้วยเหล็กดามระหว่างการท
ฐิติมา ชินะโชติ*, มานี รักษาเกียรติศักดิ์
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand; E-mnail: Thitima.chn@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
บทนำ: มอร์ฟีน 0.1 มก. ที่ฉีดเข้าช่องน้ำไขสันหลังมีผลการระงับปวดที่ดีสำหรับการผ่าตัดใส่เหล็กดาม ที่ข้อสะโพกหักนอกแคปซูลแต่ต้องพิจารณาถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะในผู้ป่วยเปราะบาง ประโยชน์ของการฉีดยาชารอบๆ เส้นประสาทฟีมอรัลสำหรับการผ่าตัดนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้เปรียบเทียบผลการระงับปวดหลังผ่าตัด ระหว่างการให้มอร์ฟีน 0.1 มก. ฉีดเข้าช่องน้ำไขสันหลัง หรือ การฉีดยาบิวพิวาเคน 0.25 % จำนวน 20 มล. รอบๆเส้นประสาทฟีมอรัล ในผู้ป่วยที่ได้รับการ ระงับความรู้สึกด้วยวิธี spinal block
วิธีการศึกษา: การศึกษาเป็นการศึกษาควบคุมแบบสุ่มท ำที่โรงพยาบาล ศิริราชในช่วงเดือนมกราคม พศ. 2554 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 ผู้ป่วย 51 คน ได้รับการแบ่งกลุ่มโดยการสุ่ม เป็น 3 กลุ่มๆ ละ 17 คน กลุ่มควบคุม (C-gr) ผู้ป่วยจะได้รับการฉีดยาชาเข้าไขสันหลังอย่างเดียว กลุ่มที่สอง (IT-gr) ผู้ป่วยจะได้รับมอร์ฟีน 0.1 มก. พร้อมการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง และกลุ่มที่สาม (FNB-gr) ผู้ป่วยจะได้ รับยาบิวพิวาเคน 0.25 % จำนวน 20 มล. รอบๆ เส้นประสาทฟีมอรัล ร่วมกับการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง ผู้ป่วย ทุกคนหลังการผ่าตัดจะได้รับยามอร์ฟีนเข้าทางหลอดเลือดดำแก้ปวด ผ่านเครื่องที่ควบคุมโดยตัวผู้ป่วยเอง (patient-controlled analgesia (PCA)) มีการประเมินค่าความปวดเมื่อ 3, 6, 12 และ 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด และมีการประเมินความพึงพอใจต่อวิธีการระงับปวดที่ได้รับ ภาวะแทรกซ้อน อาการชาหรือขาอ่อนแรง
ผลการศึกษา: ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มในแง่ของอายุ เพศ ดัชนีมวลกาย สมรรถภาพร่างกายแบ่งตาม ASA ตำแหน่งและระยะเวลาการผ่าตัด ในกลุ่มที่ได้รับมอร์ฟีนทางช่องน้ำไขสันหลัง มีระยะเวลาการระงับปวด นานกว่าโดยได้ยามอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำครั้งแรกเมื่อเวลา 470 นาทีเปรียบเทียบกับ 97 นาทีในกลุ่มควบคุม (p = 0.003) และใช้ยามอร์ฟีนใน 24 ชั่วโมงแรกน้อยกว่า (6.6+7.5 มก. เทียบกับ 14.2+5.5 มก., p = 0.007) แต่ไม่มีความแตกต่างทางนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่ม FNB กับกลุ่มควบคุม ผู้ป่วยทุกคนได้ค่าคะแนน ความปวดที่น้อยกว่า 4 ตลอดระยะเวลาของการศึกษา กลุ่ม IT ให้คะแนนความพึงพอใจในเกณฑ์ดีมากสูงกว่า กลุ่มอื่นๆ ภาวะแทรกซ้อนพบน้อยมากในผู้ป่วยทุกกลุ่ม
สรุป: มอร์ฟีนขนาด 0.1 มิลลิกรัมที่ฉีดเข้าช่องน้ำไขสันหลัง เพิ่มระยะเวลาที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกปวดหลังการผ่าตัดใส่เหล็กดามในผู้ป่วยที่กระดูกสะโพกหักแบบ นอกแคปซูล โดยมีภาวะแทรกซ้อนน้อยมาก ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญ ในการดูแลรักษากลุ่มผู้ป่วยสูงอาย
 
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2558, July-September ปีที่: 41 ฉบับที่ 3 หน้า 145-154
คำสำคัญ
intrathecal morphine, extracapsular hip fracture, มอร์ฟีนทางไขสันหลัง, กระดูกฟีเมอร์หัก