การศึกษาค่าใช้จ่ายการรักษาโรคหืดในโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า: ศึกษาประชากรในผู้ใหญ่
ธเดช บุญปิยทัศน์*, สิทธิพงษ์ ยิ้มสวัสดิ์, อธิก แสงอาสภวิริยะ
Division of Allergy and Clinical Immunology, Department of Medicine, Phramongkutklao Hospital and College of Medicine, Bangkok 10400, Thailand; Phone: +66-2-3547614; E-mail: sawad0408@gmail.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: โรคหืดเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบรื้อรังของหลอดลมซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตและการทำงาน ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหืดเป็นภาระทางเศรษฐกิจทั่วโลก ไม่เพียงแต่ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์โดยตรง เช่น ยารักษา แต่ยังมีค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ทางอ้อม เช่น การสูญเสียผลผลิตที่เป็นเรื่องยากที่จะศึกษาหาค่าใช้จ่าย
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายของการรักษาโรคหืดในประเทศไทย
วัสดุและวิธีการ: ผูป้ ว่ ยโรคหืด 74 ราย ที่มีอาการโรคหืดกำเริบไดรั้บการคัดเลือกใหเ้ ขา้ รว่ มการศึกษา อาสาสมัครจะทำแบบสอบถามด้วยตนเอง ในเรื่องปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจและระดับของการควบคุมโรคหืดโดยการประเมินแบบทดสอบการควบคุมโรคหืด ประเมินค่าใช้จ่ายของการรักษาโรคหืดโดยคำนวณจากค่าใช้จ่ายตรงทางการแพทย์ ค่าใช้จ่ายตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับทางการแพทย์
ผลการศึกษา: ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 2,752 บาท (US$ 86) เป็นค่าใช้จ่ายตรงทางการแพทย์ ค่าใช้จ่ายตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับทางการแพทย์ คิดเป็นร้อยละ 52.39, 20.73 และ 26.88 ตามลำดับ ค่าใช้จ่ายตรงทางการแพทย์คิดเป็นยาบรรเทาโรคหืดอย่างรวดเร็วร้อยละ 11.91 และยาควบคุมโรคหืดร้อยละ 36.85 ของค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด การสูญเสียผลผลิตและการสูญเสียการทำงานโดยสาเหตุจากกำเริบของโรคหอบหืดเป็นค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับทางการแพทย์ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรักษาผู้ป่วยโรคหืดที่ไม่ส ามารถควบคุมได้ สูงกว่าค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยโรคหืดที่ควบคุมโรคหืดได้บางส่วนแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ระบบการดูแลสุขภาพและช่วงอายุมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดของการรักษาโรคหืด
สรุป: ค่าใช้จ่ายตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับทางการแพทย์มีแนวโน้มจะมีความสำคัญในการพิจารณารักษาผู้ป่วยโรคหืด จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการรักษาโรคหืดจะสามารถประสบความสำเร็จได้ก็ต่อ เมื่อปรับปรุงการควบคุมโรคหืดให้ดีขึ้น
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2559, January ปีที่: 99 ฉบับที่ 1 หน้า 51-57
คำสำคัญ
Direct non-medical costs, Cost of asthma treatment, Asthma exacerbation, Direct medical costs, Indirect costs, Asthma control test