ประสิทธิผลของกางเกง Hornsby Healthy Hip ต่อการป้องกันกระดูกสะโพกหักจากการหกล้มในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในสถานพักฟื้น
มัญชุลีพร วิริยะวัฒนากูล, ปฏิมา ศีลสุภดล, Wei Shin Yu, อรวรรณ ประศาสต์วุฒิ*
ภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ
บทนำ:  กระดูกสะโพกหักจากการหกล้มเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ กางเกงป้องกันกระดูกสะโพกหักเป็นหนึ่งในแนวทางป้องกันปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตามประสิทธิผลของกางเกงยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เนื่ องจากอัตราการยินยอมใช้กางเกงตํ่า ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงสนใจถึงประสิทธิผลของการใช้กางเกงป้องกันกระดูกสะโพกหัก Hornsby Healthy Hip ที่ถูกออกแบบให้เหมาะสำหรับสัดส่วนร่างกาย และสภาพภูมิอากาศแถบเอเชีย
วัตถุประสงค์:  ประเมินประสิทธิผลของกางเกงต่อการป้องกันกระดูกสะโพกหัก และการป้องกันการหกล้ม ตลอดจนอัตราการยินยอมใช้กางเกงในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในสถานพักฟื้น
วัสดุและวิธีการศึกษา:  การศึกษานี้ศึกษาในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีการหกล้มอย่างน้อย 1 ครั้ง ในระยะเวลา 12 เดือนก่อนเข้าร่วมการศึกษา ไม่มีกระดูกสะโพกหัก และสามารถเดินได้โดยไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน ผู้สูงอายุจำนวน 14 คน ได้รับการสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มใส่กางเกง และกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 7 คน ตัวแปรในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยอัตราการเกิดกระดูกสะโพกหัก จำนวนผู้สูงอายุที่หกล้ม อัตราการหกล้ม และอัตราการยินยอมใช้กางเกงป้องกันกระดูกสะโพกหักระยะเวลาการติดตามผล 8 เดือน
ผลการศึกษา:  ในช่วงเวลา 8 เดือนของการติดตามผล อัตราการหกล้มในกลุ่มใส่กางเกงมีแนวโน้มที่ตํ่ากว่ากลุ่มควบคุม (อัตราการหกล้มเฉลี่ยเท่ากับ 1.5 ± 2.12 และ 5.78 ± 4.36 ตามลำดับ) เมื่ อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.058) อย่างไรก็ตามเมื่ อพิจารณาขนาดอิทธิพลพบว่ามีขนาดใหญ่ (d = -1.248) นอกจากนี้อัตราการยินยอมใช้กางเกงอยู่ในระดับสูงมาก (ร้อยละ 85.75) อย่างไรก็ตามการศึกษาในครั้งนี้ไม่พบการเกิดกระดูกสะโพกหักจากการหกล้มในผู้สูงอายุทั้งสองกลุ่ม
สรุป:  จากผลของขนาดอิทธิพลที่ใหญ่ ผู้สูงอายุในกลุ่มใส่กางเกงมีแนวโน้มของอัตราการหกล้มที่ตํ่า ร่วมกับอัตราการยินยอมใช้กางเกงที่สูงมาก แสดงให้เห็นว่ากางเกงป้องกันกระดูกสะโพกหัก Hornsby Healthy Hip อาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการป้องกันการหกล้ม อย่างไรก็ตามประสิทธิผลของกางเกงป้องกันกระดูกสะโพกหักยังไม่สามารถสรุปได้ เนื่องจากไม่พบอัตราการเกิดกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุทั้งสองกลุ่ม
 
ที่มา
วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด ปี 2558, September-December ปีที่: 27 ฉบับที่ 3 หน้า 287-297
คำสำคัญ
ผู้สูงอายุ, กระดูกสะโพกหัก, Falls, Hip fracture, Elders, Hip protector, Compliance rate, การหกล้ม, กางเกงป้องกันกระดูกสะโพกหัก, อัตราการยินยอมใช้กางเกง