ประสิทธิผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยจิตเภท ณ โรงพยาบาลจิตเวช
จักรี แก้วคำนึง*, อาภรณี ไชยาคำ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
บทคัดย่อ
บทนำ: ความร่วมมือในการใช้ยาในผู้ป่วยจิตเภทมีความสำคัญยิ่งในการควบคุมอาการของโรคจิตเภทป้องกันอาการกำเริบและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การให้การบริบาลทางเภสัชกรรมเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาให้กับผู้ป่วย วิธีการดำเนินวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยนอกจิตเภทที่มารับบริการที่โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 โดย
มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมตามแนวทาง mhGAP for Schizophrenia โดยเปรียบเทียบความร่วมมือในการใช้ยา อัตราการกลับมาเป็นซ้ำ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมและกลุ่มที่ได้รับบริการแบบทั่วไป โดยกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยนอกจิตเภท จำนวน 100 ราย แบ่งเป็น กลุ่มทดลองได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม จำนวน 50 ราย และกลุ่มควบคุมได้รับบริการแบบทั่วไป จำนวน 50 ราย เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวน 44 และ45 รายตามลำดับ ผลการวิจัย: ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีความร่วมมือในการใช้ยารักษาโรคจิต มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ80.95 และร้อยละ 38.23; p<0.001) และคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงทางจิตตามแบบประเมินBrief Psychiatric Rating Scale (BPRS) ในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติ (24.00±10.25 และ 28.00±11.00; p=0.012) อัตราการกลับมาเป็นซ้ำของอาการทางจิต ในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (4.36% และ 13.62%; p<0.001) คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตตามแบบประเมิน WHOQOL- BREF-THAI 26 กลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (74.50± 13.53 และ 65.29±11.53; p=0.002) จำนวนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาพบว่า ในกลุ่มทดลองลดลงร้อยละ 27.97 และกลุ่มควบคุม เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.08 จากเดิมตามลำดับ สรุปผลการวิจัย: การให้บริบาลทางเภสัชกรรมตามแนวทางโครงการลดช่องว่างการบริการผู้ป่วยโรคจิตเภทช่วยเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา ลดความรุนแรงของโรค และลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา การศึกษานี้ไม่ได้ศึกษาผลของการดำเนินงาน mhGAP for Schizophrenia ทั้งหมดทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทไม่เพิ่มขึ้น
 
ที่มา
วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน ปี 2558, March ปีที่: 11 ฉบับที่ Suppl หน้า 159-167
คำสำคัญ
Quality of life, Schizophrenia, คุณภาพชีวิต, Pharmaceutical care, การบริบาลทางเภสัชกรรม, ผู้ป่วยจิตเภท, Medication adherence, คุณภาพชี่วิต, ความร่วมมือในการใช้ยา, mhGAP, Relapse rate, อัตราการกลับมาเป็นซ้ำ