ต้นทุนการเจ็บป่วยด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
วัชรีพร รถทอง, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช, สุพล ลิมวัฒนานนท์, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์*, สุณี เลิศสินอุดม, วัชรา บุญสวัสดิ์
Faculty of Pharmaceutical Sciences, Khon Kean University, KhonKaen, Thailand 42000 Tel/Fax 043-202378; e-mail: limw0002@kku.ac.th
บทคัดย่อ
บทนำ: โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease, COPD) เป็นปัญหาสุขภาพที่ความสำคัญ มีอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนของการเจ็บป่วยด้วยโรคCOPD ในระยะเวลา1ปีและพยากรณ์ภาระงบประมาณที่ต้องใช้ในการรักษาระยะเวลา5ปี วิธีการดำเนินการวิจัย: ตัวแปรหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์อาศัยข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ของคลินิกEasy COPD (ปี2547-2556) ได้แก่ระดับความรุนแรงของโรคจากผลตรวจ
spirometry การเกิดภาวะโรคกำเริบแบบเข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน (non-severe exacerbation) หรือแบบนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน (severe exacerbation) จำนวนครั้งการรักษาภาวะกำเริบทั้งสองแบบรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับวิเคราะห์ในมุมมองทางสังคมประกอบด้วยต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวกับการแพทย์และต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ ผลการศึกษาวิจัย: ต้นทุนทางตรงทั้งหมดของการเจ็บป่วยด้วยโรคCOPD ในระยะเวลา1ปีรวมทั้งสิ้น1,003ล้านบาทในปี2558สำหรับต้นทุนทางการแพทย์สำหรับค่ารักษาผู้ป่วยนอกร้อยละ81และต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์คิดเป็นร้อยละ10ของต้นทุนทางตรงทั้งหมดต้นทุนการเข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉินเท่ากับ34ล้านบาทต้นทุนการเข้ารับบริการแบบผู้ป่วยในเท่ากับ88ล้านบาทกลุ่มผู้ป่วยระดับmild และ moderate มีต้นทุนการรักษาสำหรับภาวะโรคกำเริบเป็นร้อยละ 10ในขณะที่กลุ่มผู้ป่วยระดับsevere และvery severe มีต้นทุนการรักษาสำหรับภาวะโรคกำเริบเป็นร้อยละ15ต้นทุนเฉลี่ยต่อผู้ป่วยหนึ่งรายใน1ปีเท่ากับ6,084, 8,527, 11,392 และ 16,527บาท ตามลำดับความรุนแรงของโรคในระยะเวลา5ปีคาดว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยCOPD เป็น217,583รายสะสมเพิ่มขึ้นจากในปัจจุบัน115,082 รายภาระงบประมาณทั้งหมดเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเป็น1,832ล้านบาท สรุปผลการวิจัย: การดูแลผู้ป่วย COPD หากไม่มีการดำเนินการโดยสหสาขาวิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการและลดการกำเริบของโรคเช่นการให้ยาตามแนวเวชปฏิบัติการรักษาการสอนให้ผู้ป่วยสูดพ่นยาที่ถูกต้องการปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยภาระงบประมาณจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
 
ที่มา
วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน ปี 2558, March ปีที่: 11 ฉบับที่ Suppl หน้า 151-158
คำสำคัญ
Chronic obstructive pulmonary disease, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, Cost of illness, ต้นทุนของการเจ็บป่วย