การศึกษาเปรียบเทียบยางรัดหลอดเลือดดำขอดในหลอดอาหารด้วยวิธีการส่องกล้องระหว่างยางรัดประยุกต์จากสายสวนปัสสวะกับยางรัดมาตรฐาน
ภัทระ ไผ่เทศ
กลุ่มงานศักยกรรม โรงพยบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
บทคัดย่อ
                การศึกษาภาวะเลือดที่ออกจากการแตกของหลอดเลือดดำขอดในหลอดอาหาร จะใช้วิธีการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนเข้าไปก่อนแล้วรัดด้วยยาง เพื่อหยุดเลือดที่ออก ซึ่งปัจจุบันได้มีหลายบริษัทผลิตยางดังกล่าวออกมาใช้รัดหลอดเลือดดำขอดในหลอดอาหารและมีราคาค่อนข้างสูง อีกทั้งผู้ป่วยเหล่านี้ในแต่ละราย ต้องมาติดตามรักษาโดยการรัดหลอดเลือดอีกหลายครั้งจนกว่าหลอดเลือดดำขอดในหลอดอาหารจะหายหมด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลของการวัดหลอดเลือดดำขอดในหลอดอาหารด้วยยางรัดที่ประยุกต์จากสายสวนปัสสาวะกับยางรัดมาตรฐานว่าด้วยความแตกต่างกันหรือไม่และอาจนำผลการศึกษาดังกล่าวมาพิจารณาถึงการนำวัสดุมาใช้ทดแทนกันได้ ผู้วิจัยจึงคิดหาอุปกรณ์ทดแทน โดยใช้สายสวนปัสสาวะ (Foley’s catheter) เบอร์ 14 นำมาตัดขวางให้เป็นวงกลมและทดสอบเปรียบเทียบกับสายมาตรฐานจากข้อมูลห้องส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนของโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2556 ถึงเดือนมิถุนายน 2557 ศึกษาแบบวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial, RCT) เก็บรวบรวมข้อมูล อายุ เพศ ค่าการแข็งตัวของเลือดก่อนส่องกล้อง (INR) ความรุนแรงของตับแข็งตามการแยกของ Child Pugh classification จำนวนยางที่รัดหลอดเลือดดำขอด ตลอดจนจำนวนและระยะหลอดเลือดดำขอดที่พบแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ Student t test และ Fisher exact test
                ผลการศึกษาผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด จำนวน 100 คน แบ่งผู้ร่วมวิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 50 คน กลุ่มแรกใช้ยางรัดประยุกต์จากสายสวนปัสสาวะ และกลุ่มที่สองใช้ยางรัดมาตรฐานอายุเฉลี่ย 46 ปี พบว่าหลังการใช้ยางทั้งสองแบบ ไม่พบว่ามีภาวะเลือดออกซ้ำ (re bleeding) ภายใน 2 อาทิตย์หลังทำหัตถการไป
                สรุป สามารถนำยางรัดที่ประยุกต์จากสายสวนปัสสาวะมาทดแทนยางรัดมาตรฐานได้อย่างมีประวสิทธิภาพและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำหัตถการรัดหลอดเลือดดำขอดด้วยวิธีส่องกล้อง
 
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลพิจิตร ปี 2558, October-March ปีที่: 30 ฉบับที่ 1 หน้า 11-18
คำสำคัญ
Esophageal varices, endoscopic esophageal ligation, หลอดเลือดดำขอดในหลอดอาหาร, การรัดหลอดเลือดดำขอดด้วยวิธีการส่องกล้อง