ผลของการบริโภคน้ำผักผลไม้ผสมใยอาหารต่อการขับถ่ายอุจจาระในผู้ที่มีภาวะท้องผูก
มยุรา วัฒนพงศ์ไพศาล, เรวดี จงสุวัฒน์*, เอกราช บำรุงพืชน์
ภาควิชาโภชนาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
                จากข้อมูลการสำรวจภาวะสุขภาพของคนไทย พบว่า ปัจจุบันคนไทยบริโภคผักผลไม้น้อย เป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดปัญหาท้องผูกและเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ การบริโภคใยอาหารในปริมาณ 25-30 กรัมต่อวัน จะช่วยป้องกันและรักษาอาการท้องผูกได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบริโภคน้ำผักผลไม้ผสมใยอาหารต่อการขับถ่ายอุจจาระในผู้ที่มีอาการท้องผูก รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดปกปิดสองด้าน มีกลุ่มควบคุม (Randomized, Double-blind Controlled Trial) กลุ่มตัวอย่างถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มแรกบริโภคน้ำผักผลไม้ผสมใยอาหาร (ใยอาหารปริมาณ 10 กรัม) วันละ 300 มล. กลุ่มที่สอง บริโภคน้ำผักผลไม้ (ใยอาหารปริมาณ 2 กรัม) วันละ 300 มล. เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ประเมินการขับถ่ายอุจจาระทุกวันเป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ รวมทั้งวัดสัดส่วนของร่างกายในสัปดาห์ที่ 0 และ 4 ผลการศึกษาพบว่า การบริโภคน้ำผักผลไม้ทั้ง 2 กลุ่ม ช่วยเพิ่มความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระ เพิ่มปริมาณอุจจาระ รูปร่างอุจจาระอ่อนนุ่มมากขึ้น สีอุจจาระดีขึ้น ความรุนแรงของกลุ่มอุจจาระลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง โดยเห็นผลในสัปดาห์แรกหลังการบริโภคน้ำผักผลไม้ (p < 0.05) และมีแนวโน้มสูงกว่าในกลุ่มที่บริโภคน้ำผักผลไม้ผสมใยอาหาร การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การบริโภคน้ำผักผลไม้ผสมใยอาหาร และน้ำผักผลไม้ช่วยทำให้ระบบการขับถ่ายอุจจาระดีขึ้นในผู้ที่มีอาการท้องผูก
 
 
ที่มา
วารสารจักษุสาธารณสุข ปี 2559, May-August ปีที่: 45 ฉบับที่ 2 หน้า 210-224
คำสำคัญ
Constipation, อาการท้องผูก, dietary fiber, dextrin, polydextrose, ไยอาหาร, เด็กซ์ตริน, โพลีเด็กซ์โตรส