การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมการบำบัดทางทันตกรรมในผู้ป่วยจิตเภท
ชวัลลักษณ์ แก้วมงคล
โรงพยาบาลศรีธัญญา
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาสภาวะปริทันต์ในผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังการขูดหินน้ำลาย ขัดฟันทาฟลูออไรด์ และฝึกปฏิบัติวิธีแปรงฟันรายบุคคล
วัสดุและวิธีการ: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรงพยาบาลศรีธัญญา จำแนกเป็นกลุ่มทดลอง 45 คนและกลุ่มควบคุม 45 คน ด้วยการสุ่มเพื่อเข้ารับการส่งเสริมทันตสุขภาพตามแผน ประเมินผลก่อนศึกษาและติดตามผลในสัปดาห์ที่ 2, 12 และ 24 ด้วยดัชนีสภาวะปริทันต์ดังนี้คือ การมีจุดเลือดออกเมื่อหยั่ง (BOP) คราบจุลินทรีย์ (PI) การสูญเสียการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ (CAL) และร่องลึกปริทันต์ (PD) วิเคราะห์ด้วยสถิติ
เชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย  BOP  PI CAL และ PD ด้วย multivariate analysis
ผล: ก่อนการศึกษาทั้งสองกลุ่มสภาวะปริทันต์ไม่ต่างกัน ค่าเฉลี่ยดัชนีสภาวะปริทันต์  BOP  PI CAL และ PD คือ 47.9, 95.5, 2.7 และ 1.8 ตามลำดับ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 35 คนเมื่อติดตามผลในสัปดาห์ที่ 24 พบว่า ค่า BOP PI ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ การขูดหินน้ำลายร่วมด้วยทำให้ค่า BOP PI ลดลงมากกว่าการฝึกปฏิบัติแปรงฟันเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนค่า CAL และ PD ไม่เปลี่ยนแปลง
อย่างมีนัยสำคัญ
สรุป: การขูดหินน้ำลายร่วมกับการฝึกปฏิบัติวิธีแปรงฟันทำให้ผู้ป่วยจิตเภทภาวะปริทันต์ ดีกว่าการ
ฝึกปฏิบัติวิธีแปรงฟันอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญเมื่อติดตามผลในระยะ 12 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามค่าดัชนี BOP และ PI ยังมีค่าสูงกว่าผู้ป่วยทั่วไป ทันตแพทย์ควรตระหนักในการส่งเสริม วางแผนการคงสภาพเพื่อลดปัญหาสภาวะปริทันต์ในผู้ป่วยจิตเภทอย่างต่อเนื่องทุก 3 เดือน
 
ที่มา
วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปี 2558, May ปีที่: 23 ฉบับที่ 2 หน้า 102-111
คำสำคัญ
Schizophrenia, intervention, จิตเภท, dental care, การบำบัด, ทันตกรรม, สภาวะปริทันต์