คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในอำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่
สมร ละเลิง
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่
บทคัดย่อ
บทนำ: ปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากวัยนี้เป็นวัยถดถอยและเสื่อมลง รัฐบาลตระหนักและให้ความสำคัญถึงปัญหาทั้งด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ
ตลอดจนการดำรงชีวิตในสังคม จัดให้มีการพัฒนา และส่งเสริมคุณภาพชีวิต เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความพอใจในชีวิต สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในอำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive study) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในอำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ จำนวน 6 ตำบล คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน
(Taro Yamanae, 1973) และสุ่มตัวอย่างโดยการคำนวณสัดส่วน ได้จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป และแบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การอนามัย
โลกชุดยอ่ ฉบับภาษาไทย ซึ่งแปลและปรับปรุงโดยสุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ แบบสัมภาษณ์
คุณภาพชีวิตมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
สถิติพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: พบว่าคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 77.9 ระดับดี ร้อยละ 21.0
เมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจิตใจ และด้านสัมพันธภาพ
ทางสังคมพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน คือ ร้อยละ 81.3, 70.0, 66.7 และ 53.3 ตามลำดับ
สรุป: โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ควรมีการส่งเสริมด้านสุขภาพร่างกาย
และจิตใจตลอดจนการดำรงชีวิตในสังคม และป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคระบบกล้ามเนื้อ
และกระดูก ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ให้กับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม
ได้อย่างเหมาะสม
 
ที่มา
๋Journal of the Phrae Hospital ปี 2557, July-December ปีที่: 22 ฉบับที่ 2 หน้า 93-102
คำสำคัญ
คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ, Quality of life of the Elderly