การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลระหว่างการผ่าตัดหัวใจ: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการได้รับยานำสลบสองชนิดอีโตมิเดตกับธัยโอเพนทอล
มานี รักษาเกียรติศักดิ์*, ชุติมาศ งามละเมียด, ฐิติกัญญา ดวงรัตน์, สุวิทย์ สุนทรินคะ, กษณา รักษมณี
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, 2 Wanglang Road, Bangkoknoi, Bangkok 10700, Thailand; Phone: +66-2-4197989, +66-2-4113256; E-mail: manee.rak@mahidol.ac.th, manee95@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลก่อน ระหว่างและหลังการผ่าตัดหัวใจในผู้ป่วยสองกลุ่มที่ได้รับยานำสลบอีโตมิเดตหรือธัยโอเพนทอลและผลที่เกิดกับผู้ป่วย
วัสดุและวิธีการ: การศึกษาแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วย 26 ราย โดยแบ่งผู้ป่วยโดยการสุ่มเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 13 ราย ที่มารับการผ่าตัดหัวใจแบบไม่ฉุกเฉิน โดยจะได้รับยานำสลบอีโตมิเดตหรือธัยโอเพนทอล โดยมีการวัดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลตั้งแต่ก่อนการนำสลบที่ 2, 4, 8, 24 ชั่วโมงต่อมา รวมถึงการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย การรักษาที่ได้รับ และผลการรักษา
ผลการศึกษา: ไม่มีความแตกต่างของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ในแง่ข้อมูลทั่วไป ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีค่าคอร์ติซอลที่เริ่มต้นใกล้เคียงกัน คือ ในกลุ่มอีโตมิเดตได้ค่าคอร์ติซอลเฉลี่ย 11.7±7.5 ไมโครกรัม/เดซิลิตร ในกลุ่มธัยโอเพนทอลได้ค่าคอร์ติซอลเฉลี่ย 12.0±8.2 ไมโครกรัม/เดซิลิตร ระหว่างการผ่าตัดทั้งสองกลุ่ม ระดับคอรต์ติซอลสูงขึ้นกว่าเดิมและสูงที่สุดในช่วง 4-8 ชั่วโมง ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะเครียดจากการผ่าตัด (surgical stress) โดยกลุ่มอีโตมิเดตได้ค่าเฉลี่ยที่ต่ำกว่าทุกช่วงเวลาและ ที่ 8 ชั่วโมง ในกลุ่มอีโตมิเดตได้ค่าคอร์ติซอลเฉลี่ยที่ตํ่ากว่ามากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (39.9±14.2 vs. 65.9±20.0 ไมโครกรัม/เดซิลิตร ที่ 24 ชั่วโมง ทั้งสองกลุ่มค่าคอร์ติซอลเฉลี่ยมีระดับที่เริ่มลดตํ่าลงแต่ยังคงสูงกว่าค่าปกติ ไม่มีความแตกต่างของการใช้ยาช่วยการบีบตัวของหัวใจ ระยะเวลาของการอยู่ไอซียูแต่กลุ่มที่ได้รับยานำสลบอีโตมิเดตอยู่โรงพยาบาลในช่วงที่สั้นกว่า
สรุป: การใช้ยานำสลบอีโตมิเดตในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดหัวใจมีผลยับยั้งการสร้างฮอร์โมนคอรต์ติซอลบางส่วนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2558, August ปีที่: 98 ฉบับที่ 8 หน้า 775-781
คำสำคัญ
Cardiac surgery, Etomidate, Cortisol, Adrenal insufficiency