การเปลี่ยนแปลงของความดันดลือดและชีพจรหลังการฉีดยานำสลบในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการผ่าตัดหัวใจ: การศึกษาเปรียบเทียบแบบสุ่มระหว่างอีโตมิเดตกับธัยโอเพนโทน
มานี รักษาเกียรติศักดิ์*, ชุติมาศ งามละเมียด, ฐิติกัญญา ดวงรัตน์, สุวิทย์ สุนทรินคะ, กษณา รักษมณี, สถิตย์ ชัยรัตนวานิชDepartment of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand; E-mail: manee95@hotmail.com, manee.rak@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
บทนำ: ยาฉีดนำสลบมีหลายชนิด การเลือกชนิดและขนาดของยานำสลบขึ้นกับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น สภาพระบบไหลเวียนเลือดของผู้ป่วย ประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจ การผ่าตัดและเหตุผลอื่น ๆ
วัตถุประสงค์: ต้องการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนเลือดของยานำสลบสองชนิดอีโตมิเดต กับธัยโอเพนโทนในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการผ่าตัดหัวใจ
วิธีการ: การศึกษาไปข้างหน้าโดยการสุ่มผู้ป่วยสูงอายุ (> 60 ปี) ที่มารับการผ่าตัดหัวใจอย่างไม่เร่งด่วน 92 คน เป็น 2 กลุ่ม ให้ได้รับยานำสลบอีโตมิเดตหรือธัยโอเพนโทน ร่วมกับการได้รับเฟนตานิลและมิดาโซแลม มีการวัดความดัน ชีพจร ตอนแรก หลังได้รับยานำสลบ และหลัง การใส่ท่อหายใจ มีการบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย การดูแลรักษาที่ได้รับ และผลลัพธ์
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยใน กลุ่มธัยโอเพนโทนมีค่าเฉลี่ยอายุที่มากกว่าเล็กน้อย (70.2 ± 7.7 ปี VS 65.6 ± 5.4 ปี, p = 0.002). ข้อมูลอื่น ๆ ของ ผู้ป่วยสองกลุ่มไม่ต่างกันรวมทั้งยูโรสกอร์ ค่าเฉลี่ยของขนาดยาอีโตมิเดตอยู่ที่ 9.7 ± 4.9 มก. หรือ 0.15 ± 0.08 มก./กก. และค่าเฉลี่ยของขนาดยาธัยโอเพนโทนอยู่ที่ 101.2 ± 44.7 มก. หรือ 1.88 ± 1.04 มก./กก. มีการ เปลี่ยนแปลงของความดันเลือด ชีพจรหลังการนำสลบและใส่ท่อหายใจของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มแต่ไม่มีความ แตกต่างระหว่างกลุ่ม แม้ว่าจะมีการวิเคราะห์แยกในผู้ป่วยที่มีการบีบตัวของหัวใจที่ไม่ดี ค่าอื่น ๆ ก็ไม่แตกต่างกัน เช่น ปริมาณการใช้ยาช่วยการบีบตัวหัวใจ ระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจหลังการผ่าตัด ระยะเวลาการอยู่ไอซียู
สรุป: ด้วยวิธีการใช้ยานำสลบร่วมกับเฟนตานิลและมิดาโซแลม ยาธัยโอเพนโทนและยาอีโตมิเดตแสดงถึง การเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนเลือดระหว่างนำสลบเพียงเล็กน้อยจึงสามารถนำมาใช้นำสลบในผู้ป่วย สูงอายุที่มีโรคหัวใจได
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2557, January-March
ปีที่: 41 ฉบับที่ 1 หน้า 1-10
คำสำคัญ
Cardiac surgery, Etomidate, thiopentone, anesthetic induction agents, hemodynamic effects, ยาฉีดนำสลบ, อีโตมิเดต, ธัยโอเพน, การผ่าตัดหัวใจ, ความดันเลือด, ชีพจร