คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยธรรมปฏิบัติในโรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี
พระปลัดสมชาย ปโยโค
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยธรรมปฏิบัติ
วัสดุและวิธีการ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) เก็บข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และประเมินคุณภาพชีวิตโดยใช้แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) ก่อนและหลังจากผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้รับการส่งเสริมในการบำบัดด้วยธรรมปฏิบัติ
ผลการศึกษา: โรคไม่เรื้อรัง เป็นโรคที่ใช้ระยะเวลานานในการดูแลรักษา และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุด ประกอบด้วย โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมได้ด้วยการใช้ยาและการรักษาด้วยวิธีผสมผสาน สำหรับผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยธรรมปฏิบัติ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยผลจากการทดสอบก่อนและหลังการอบรม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุป: ธรรมปฏิบัติแบบบูรณาการที่ได้รับการผสมผสานจากการสวดมนต์ การทำสมาธิ การสนทนาธรรม การควบคุมการบริโภค การออกกำลังกาย การควบคุมอารมณ์ และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามนาฬิกาชีวิต สามารถเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
 
 
ที่มา
วารสารสวนปรุง ปี 2558, January-April ปีที่: 31 ฉบับที่ 1 หน้า 27-37
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, คุณภาพชี่วิต, Chronic Disease, Dhamma Practice, ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, ธรรมปฏิบัติ