ผลการระงับปวดหลังการผ่าตัดใหญ่ทางนรีเวชวิทยาโดยการบริหารยาพาริค็อกซิบก่อนรับการผ่าตัด: การศึกษาในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
ภาวัช อาภรณ์รัตน์, เด่นศักดิ์ พงศ์โรจน์เผ่า*, ชำนาญ แท่นประเสริฐกุล, คมสันติ์ สุวรรณฤกษ์, กรณ์กาญจน์ ภมรประวัติธนะDepartment of Obstetrics and Gynaecology, Faculty of Medicine, Thammasat University, Pathumthani, 12120, Thailand; Phone: +66-2-9269343, Fax: +66-2-9269485; E-mail: pongrojpaw@gmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาประสิทธิผลของการฉีดยาพาริค็อกซิบก่อนรับการผ่าตัดเปิดหน้าท้องทางนรีเวชต่อการระงับปวดหลังการผ่าตัด
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาชนิดควบคุมและสุ่มตัวอย่างชนิดปิดในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เ ฉลิมพระเกียรติ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยมีจำนวนผู้ป่วยที่รับการรักษาทางนรีเวช 120 ราย ที่มารับการผ่าตัดรักษาโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 60 ราย โดยกลุ่มแรกเป็นกลุ่มศึกษาจะได้รับยาพาริค็อกซิบ 40 มิลลิกรัม ในเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนรับการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มควบคุมได้รับยาหลอก ก่อนรับการผ่าตัด 1 ชั่วโมง บันทึกระดับความเจ็บปวดที่ได้รับการประเมินโดยใช้ visual analog scale (VAS) ที่ 3, 6, 12 และ 24 ชั่วโมง หลังการผ่าตัดตามลำดับ ความถี่ของการใช้ยาเมเพอริดีนหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง ตลอดจนฤทธิ์ข้างเคียงของยาพาริค็อกซิบ
ผลการศึกษา: ผลของการวัดระดับความเจ็บปวดหลังผ่าตัดชั่วโมงที่ 3, 6, 12 และ 24 ในกลุ่มศึกษามีค่าน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การใช้ยาเมเพอริดีนในกลุ่มควบคุมมีปริมาณมากกว่ากลุ่มศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (27.5±19.36 และ 48.75±28.15 มิลลิกรัม ตามลำดับ) ไม่พบข้อแทรกซ้อนของยาพาริค็อกซิบในการศึกษานี้
สรุป: การฉีดยาพาริค็อกซิบเข้าหลอดเลือดดำก่อนรับการผ่าตัดสามารถลดความเจ็บปวดและลดการใช้ยาเมเพอริดีนลง โดยสามารถใช้ยาพาริค็อกซิบเพื่อระงับความเจ็บปวดภายหลังผ่าตัดทางนรีเวชได้อย่างปลอดภัย
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2558, July
ปีที่: 98 ฉบับที่ 7 หน้า 636-642
คำสำคัญ
Parecoxib, meperidine, Pain relief, Gynaecological surgery