ผลลัพธ์ของการกำกับตนเองในการรับประทานอาหารและการเดินเร็วเพื่อควบคุมน้ำหนักของหญิงที่มีน้ำหนักเกิน
ญาตา แก่นเผือก*, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, วรรณิภา อัศวชัยสุวิกรม
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาหิน จังหวัดชลบุรี
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการควบคุมกำกับตนเองในการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายด้วยการเดินเร็วในหญิงที่มีน้ำหนักเกิน (BMI ≥ 23 กิโลกรัม
ต่อตารางเมตร) โดยประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง อายุ 35 - 59 ปี ที่มีน้ำหนักเกิน อาศัยในตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ นำมาจับคู่ 3 ด้าน ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส และรายได้ หลังจากนั้นทำการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 25 คู่ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม สุ่มเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน โดยกลุ่มทดลอง ได้รับการกำกับตนเองในการรับประทานอาหาร และการเดินเร็ว เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตตามปกติ วัดผลก่อนและหลังการทดลอง รวบรวมข้อมูลโดยใช้การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดเส้นรอบเอว แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ไคสแควร์ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม
ผลการวิจัยพบว่าการกำกับตนเองในการรับประทานอาหารและการเดินเร็ว มีผลทำให้กลุ่ม
ทดลองมีค่าเฉลี่ยน้ำหนัก ค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอวน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทาง
 
ที่มา
วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา ปี 2557, January-June ปีที่: 9 ฉบับที่ 1 หน้า 104-116
คำสำคัญ
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร, Self-regulation, Eating behavior, การกำกับตนเอง, Brisk Walk, Overweight Women, การเดินเร็ว, หญิงที่มีน้ำหนักเกิน