ผลของการนวดร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนปลายต่ออาการเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมบริเวณขาส่วนล่างในผู้ป่ วยเบาหวานชนิดที่ 2: การศึกษานำร่อง
สายธิดา ลาภอนันตสิน*, สิริกานต์ เจตนประกฤต, เรืองรักษ์ อัศราช, วาธินี อินกล่ำ, ศิรประภา จำนงค์ผล
สาขาวิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บทคัดย่อ
ภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมบริเวณขาส่วนล่างพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะระดับ
น้ำตาลในเลือดที่สูงเรื้อรังจะทำลายผนังหลอดเลือดที่เลี้ยงเส้นประสาท ทำให้เกิดการเสื่อมของเส้นประสาท
ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการรับความรู้สึกบกพร่องและอ่อนแรงของกล้ามเนื้อจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าการนวดและการออกกำลังกายสามารถเพิ่มการไหลเวียนเลือด อีกทั้งการออกกำลังกายยังสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนวดร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนปลายต่ออาการเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมบริเวณขาส่วนล่างในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วิธีการวิจัย อาสาสมัครที่มีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมบริเวณขาส่วนล่างจากเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 13 คน อายุเฉลี่ย 59.92±8.45 ปี สุ่มแบ่ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนวด (n=9) และกลุ่มนวดร่วมกับการออกกำลังกาย (n=4) ทุกคนรับการตรวจประเมินอาการเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมด้วย  ichigan
Neuropathy Screening Instrument (MNSI) และวัดแรงกล้ามเนื้อ ankle dorsiflexor (DF) และ plantar flexor (PF) ด้วย hand-held dynamometer กลุ่มนวด (M) ได้รับการสอนนวดเท้าและขาส่วนล่าง (นวด 40นาที/ครั้ง) สำหรับกลุ่มนวดร่วมกับการออกกำลังกาย (ME) ได้รับการสอนนวดและออกกำลังกาย (นวด15 นาที และออกกำลังกาย 25 นาที, รวม40 นาที/ครั้ง) โดยให้ทั้งสองกลุ่มฝึกปฏิบัติตามโปรแกรมที่ได้รับด้วยตนเองที่บ้าน 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ จากนั้นทุกคนได้รับการตรวจประเมิน MNSI, DF และ PF อีกครั้ง เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างก่อน-หลังการฝึกภายในกลุ่มด้วยสถิติ Wilcoxon matched-pairs signed-ranks test และเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Mann-Whitney U test ผลการวิจัย พบว่า ค่าคะแนน MNSI หลังฝึกของกลุ่ม M กับ ME ลดลงจากก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p=0.004 และ p=0.034 ตามลำดับ) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างทั้งสองกลุ่ม และพบผลของการฝึกทำให้แรงกล้ามเนื้อ PF ของกลุ่ม ME เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่ม M อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.045) ส่วนแรงกล้ามเนื้อ DF เพิ่มขึ้นจากก่อนฝึกเฉพาะในกลุ่ม ME เท่านั้น (p=0.034) สรุปการศึกษานำร่องนี้พบว่าการนวดช่วยบรรเทาอาการเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมโดยสามารถช่วยให้การรับความรู้สึกดีขึ้นขณะที่ การนวดร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนปลายของการศึกษานี้ช่วยให้การรับความรู้สึกดีขึ้น และช่วยเพิ่มแรงกล้ามเนื้อ DF และ PF
ขึ้นร่วมด้วยอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่
ขึ้นเพื่อยืนยันผลการศึกษาให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
 
ที่มา
วารสารกายภาพบำบัด ปี 2558, September-December ปีที่: 36 ฉบับที่ 3 หน้า 97-105
คำสำคัญ
massage, diabetic peripheral neuropathy, MNSI, therapeutic exercise