ผลของอาชาบำบัดและการฝึกบนเก้าอี้อานม้าแบบเคลื่อนไหวต่อความสามารถด้านการเคลื่อนไหวในเด็กที่มีภาวะอัมพาตสมองใหญ่ชนิดเกร็งแบบสมมาตร
สุดารัตน์ รักขา, ระวีวรรณ เล็กสกุลไชย*, ชนัตถ์ อาคมานนท์Faculty of Physical Therapy, Mahidol University, 999 Phutthamonthon4 Road, Salaya, Nakorn Prathom 73170, THAILAND e-mail: raweewan.lek@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
งานวิจัยที่ผ่านมาได้มีการรายงานหลากหลายเทคนิคในการฝึกการเคลื่อนไหวอย่างหยาบในเด็กที่มี
ภาวะอัมพาตสมองใหญ่ อาชาบำบัด (HP) และการฝึกบนเก้าอี่อานม้าแบบเคลื่อนไหว (DS) ก็เป็นเทคนิคการ
ฝึกที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพที่ดี แต่ยังไม่มีการศึกษาใดที่เปรียบเทียบผลที่ได้จากการฝึกสอง
เทคนิคเทียบกัน วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ เพื่อเปรียบเทียบผลของ HP เทียบกับ DS เป็นระยะเวลา 6
สัปดาห์ ต่อความสามารถด้านการเคลื่อนไหวในเด็กที่มีภาวะอัมพาตสมองใหญ่ชนิดเกร็ง โดยผู้เข้าร่วมวิจัย
จำนวน 10 คน ถูกสุ่มให้อยู่ในกลุ่มที่ได้รับการฝึกด้วย HP หรือ DS เด็กทุกคนได้รับการประเมินความสามารถด้านการเคลื่อนไหวจำนวน 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ก่อนการฝึก ครั้งที่ 2 ที่สัปดาห์ที่ 3 และครั้งที่ 3 ที่สัปดาห์ที่ 6 ของการฝึก จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าทั้งสองกลุ่มมีการเพิ่มขึ้นของความสามารถด้านการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกท่าของการประเมิน เมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างกลุ่ม พบว่าความสามารถในท่าเดินของสัปดาห์ที่ 3 ของสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ ความสามารถด้านการเดิน และคะแนนรวมในสัปดาห์ที่ 6 ของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสามารถสรุปได้ว่า HP แ ละ DS สามารถเพิ่มความสามารถด้านการเคลื่อนไหวในเด็กที่มีภาวะอัมพาตสมองใหญ่ชนิดเกร็งได้ แต่ HP มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความสามารถด้านการเดินที่ดี
ที่มา
วารสารกายภาพบำบัด ปี 2557, May-August
ปีที่: 36 ฉบับที่ 2 หน้า 51-59
คำสำคัญ
Cerebral palsy, intervention, Hippotherapy, Saddle seat, Gross motor function