ผลการรักษาผู้ป่วยปวดคอและหลังส่วนบน จาก Myofascial Pain Syndrome ระหว่างอัลตราซาวด์ นวดไทย และอัลตราซาวด์ร่วมกับนวดไทย
วิโรจน์ วรรณภิระ*, ปานจิต วรรณภิระ, กัญญารัตน์ ค้ำจุน
กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
บทคัดย่อ
กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดชนิด myofascial pain syndrome (MPS) พบได้บ่อย การทดลองชนิดสุ่มแบบมีกลุ่มเปรียบเทียบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยปวดคอหรือหลัง
ส่วนบนจาก MPS ระหว่างอัลตราซาวด์ (USD) นวดไทย (TTM) และอัลตราซาวด์ร่วมกับนวดไทย (USD- TTM) โดยศึกษาระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ในผู้ป่วยปวดคอหรือ
หลังส่วนบนจาก MPS 68 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มด้วยวิธีสุ่มแบบ block randomization กลุ่มแรก (USD) 24 คน กลุ่มสอง (TTM) 23 คน กลุ่มสาม (USD-TTM) 21 คน แต่ละกลุ่มรักษานาน 2 สัปดาห์ และเปรียบเทียบระดับความรู้สึกปวด (NRS) คะแนนความเจ็บปวดขณะปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (FRI) และค่าแรงกดที่เริ่มรู้สึกปวด (PPT) ก่อนและหลังรักษาด้วยการทดสอบ Wilcoxon signed-ranks และระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบ Kruskal-Wallis กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 พบว่า NRS และFRI หลังรักษาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกกลุ่ม (p < 0.001) แต่ไม่แตกต่างกันระหว่า งกลุ่ม (p = 0.135, 0.286) ค่า PPT หลังรักษาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกกลุ่ม (p < 0.001) แต่ไม่ต่างกันระหว่างกลุ่ม (p = 0.369) สรุปได้ว่าการรักษาผู้ป่วยปวดคอหรือหลังส่วนบนจาก MPS ด้วยอัลตราซาวด์การนวดไทย และอัลตราซาวด์ร่วมกับนวดไทยให้ผลการรักษาดีไม่ต่างกัน
 
 
ที่มา
พุทธชินราชเวชสาร ปี 2557, May-August ปีที่: 31 ฉบับที่ 1 หน้า 227-241
คำสำคัญ
Traditional Thai massage, Myofascial pain syndrome, Neck pain, ปวดคอ, Back pain, นวดไทย, อัลตราซาวด์, ultrasound diathermy, ปวดหลัง, กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดชนิด