การหลั่งของน้ำนมเต็มเต้าในมารดาหลังการผ่าตัดเปรียบเทียบระหว่างการผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉินและการผ่าตัดคลอดแบบมีกำหนดการ
ประวิทย์ อินทรสุขุม
กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา
บทคัดย่อ
มารดาสามารถรับรู้การมาของน้ำนมเต็มเต้าหลังคลอดได้จากอาการแสดงต่าง ๆ ได้แก่ รู้สึกเต้านมขยายคัดตึงและเจ็บแปลบภายในเต้า มีน้ำนมไหลจากเต้าตรงข้ามขณะที่ลูกดูดนม จากการศึกษาพบว่า วิธีการคลอดมีผลต่อระยะเวลาการหลั่งของน้ำนมเต็มเต้า มารดาผ่าตัดคลอดมีการหลั่งของน้ำนมเต็มเต้าช้ากว่ามารดาที่คลอดทางช่องคลอด ปัจจุบันมีแนวโน้มการผ่าตัดคลอดสูงขึ้นโดยเฉพาะการผ่าตัดคลอดตามความต้องการของมารดา การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ prospective study เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการหลั่งของน้ำนมเต็มเต้าของมารดาหลังคลอดระหว่างการผ่าตัดคลอด แบบฉุกเฉินและการผ่าตัดคลอดแบบมีกำหนดการจำนวน 283 ราย โดยมีมารดาคลอดโดยการผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน 141 ราย และผ่าตัดคลอดแบบมีกำหนดการ 142 ราย ในโรงพยาบาลพุทธโสธร ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2555 การศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้าของมารดาหลังคลอดแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยกลุ่มผ่าตัดฉุกเฉินมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 43.79  ชั่วโมง ส่วนกลุ่มผ่าตัดคลอดแบบมีกำหนดการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 62.67ชั่วโมง
 
ที่มา
วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2557, November-December ปีที่: 23 ฉบับที่ 6 หน้า 1058-1066
คำสำคัญ
onset of lactation (OL), emergency cesarean delivery, elective cesarean delivery, การหลั่งของน้ำนมเต็มเต้าหลังคลอด, การผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน, การผ่าตัดคลอดแบบมีกำหนดการ