เปรียบเทียบผลกายภาพบำบัดในผู้ป่วยกระดูกขาหักหลังผ่าตัด internal fixation ในกลุ่มทำที่บ้านกับโรงพยาบาล
สินีนาฏ สุขอุบล
โรงพยาบาลหาดใหญ่
บทคัดย่อ
บทนำ: การเกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลัง กระดูกต้นขาหัก สามารถเกิดขึ้นได้มากมาย เช่น ข้อยึดติด กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น การรักษาผู้ป่วยจึงต้องมีความสมดุลตั้งแต่การผ่าตัดและการฟื้นฟูสมรรถภาพการตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การจัดทำแนวปฏิบัติและคู่มือทางกายภาพบำบัดในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยใช้เป็นแนวในการฟื้นฟูสมรรถภาพและให้เป็นมาตรฐานการเดียวกัน ลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการให้โปรแกรมกายภาพบำบัดในกลุ่มทำกายภาพบำบัดเองที่บ้านกับโรงพยาบาล
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม ในผู้ป่วยกระดูกต้นขาหัก หลังผ่าตัด internal fixation ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ จำนวน 30 คน แบ่งกลุ่มผู้ป่วยเป็นผู้เข้าร่วมวิจัย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทำกายภาพบำบัดเองที่บ้าน และกลุ่มเข้าโปรแกรมกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล เปรียบเทียบผล ระดับความเจ็บปวด ช่วงการเคลื่อนไหวข้อเข่า และกำลังกล้ามเนื้อเหยียดเข่า กล้ามเนื้องอเข่า และกล้ามเนื้อกางขา ทุกสัปดาห์ที่ 2, 4 และ 8 หลังผ่าตัด
ผลการศึกษา: พบว่า ในระยะแรกรับ – 3 วันหลังผ่าตัด และ 8 สัปดาห์หลังผ่าตัด ระดับอาการปวด องศางอข้อเข่าและกำลังกล้ามเนื้อ ทั้ง 2 กลุ่มไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p (0.05) แต่ในระยะ 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด พบว่า ระดับอาการปวด องศาการงอข้อเข่า และกำลังกล้ามเนื้อของกลุ่มที่เข้าโปรแกรมกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาลดีกว่ากลุ่มทำกายภาพบำบัดเองที่บ้าน โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p (0.05) ส่วนแต่ในระยะ 4 สัปดาห์หลังผ่าตัด พบว่า ระดับอาการปวด องศาการงอข้อเข่าของกลุ่มที่เข้าโปรแกรมกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล ดีกว่ากลุ่มทำกายภาพบำบัดเองที่บ้าน โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p (0.05)
สรุป: โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยสามารถช่วยในการฟื้นฟูสภาพของร่างกาย สามารถนำไปพิจารณาใช้เป็นมาตรฐานสำหรับฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ ไม่มีอาการแทรกซ้อน
 
 
ที่มา
วารสารวิชาการเขต 12 ปี 2557, September-December ปีที่: 24 ฉบับที่ 3 หน้า 37-42