การคิดต้นทุนหน่วยบริการ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
ปิยนุช ชินะกาญจน์*, องุ่น สมสังข์, ศศี ศรีโชติ
ฝ่ายการเงินและบัญชี โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
บทคัดย่อ
                การวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective Study) เพี่อศึกษาต้นทุนรวมและต้นทุนการให้บริการของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โดยใช้ข้อมูลในปีงบประมาณ 2555 เก็บข้อมูลต้นทุนทางบัญชีหมวดค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุนจากหน่วยต้นทุน จำนวน 93 หน่วยต้นทุน วิธีการหาต้นทุนสถานพยาบาล (Provider Cost Finding Method) คือ Cost-to-charge ratio โดยการกำหนดหน่วยต้นทุนตามประเภทหน่วยงาน คำนวณหาต้นทุนรวมของแต่ละหน่วยต้นทุน กำหนดเกณฑ์กระจายต้นทุน หาต้นทุนรวมของโรงพยาบาล หาต้นทุนทั้งหมด (Full cost) ของหน่วยต้นทุนสุดท้ายหาต้นทุนรายประเภทผู้ป่วยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป Cost Project โดยใช้ อัตราส่วน ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
                ผลการศึกษาพบว่าในปีงบประมาณ 2555 โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยามีต้นทุนรวม เท่ากับ 923,787,271.44 บาท มูลค่าที่เรียกเก็บได้เท่ากับ 785,971,242.00 บาท จึงขาดทุน 137,816,029.44 บาท อัตราส่วน Cost Charge Ratio (CCR) ภาพรวมเท่ากับ 1.1753 อัตราส่วนต้นทุนค่าแรง ต่อค่าวัสดุและค่าลงทุนเท่ากับ 56.30: 40.83: 2.87 หมวดค่าบริการที่มีต้นทุนรวมสูงกว่า มูลค่าที่เรียกเก็บ (อัตราส่วน CCR มากกว่า 1) คือ หมวดค่าอุปกรณ์ของใช้และเครื่องมือทางการแพทย์ หมวดค่าบริการทางกายภาพบำบัดและทางเวชกรรมฟื้นฟู หมวดค่าบริการทางทันตกรรม หมวดค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค หมวดค่าห้องและอาหาร หมวดค่าบริการทางการแพทย์และพยาบาล หมวดค่าตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีพิเศษอื่นๆ หมวดค่าทำหัตถการและวิสัญญี หมวดค่าเวชภัณฑ์มิใช่ยา มีอัตราส่วน CCR เรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ 10.6137, 4.9357, 2.9343, 1.9470, 1.8146, 1.6894, 1.2025, 1.1766 และ 1.1593 ตามลำดับ หมวดค่าบริการที่มีต้นทุนรวมต่ำกว่ามูลค่าที่เรียกเก็บ (อัตราส่วน CCR น้อยกว่า 1) คือ หมวดค่าบริการฝังเข็มและค่าบริการการให้การบำบัดของผู้ประกอบโรคศิลปะอื่น ค่ายารวม (นอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ยากลับบ้าน ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ) ค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา ค่าบริการโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา เรียงลำดับจากน้อยไปมากดังนี้ 0.0654, 0.3684, 0.4251, 0.6925 และ 0.8856 ตามลำดับ การกระจายต้นทุนตามประเภทบริการของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา พบว่า ต้นทุนบริการผู้ป่วยนอกรวมฉุกเฉินและทันตกรรมร้อยละ 39.85 ต้นทุนต่อการมาใช้บริการผู้ป่วยนอกหนึ่งครั้ง (1 Visit) เท่ากับ 1,270.97 บาท ต้นทุนบริการผู้ป่วยใน ร้อยละ 60.15 ต้นทุนผู้ป่วยใน เท่ากับ19,349.50 บาทต่อหนึ่ง Admission, 8,140.98 ต่อหนึ่งวันนอน, 14,291.96 ต่อหนึ่ง Adjust RW
 
 
ที่มา
วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ปี 2556, September-December ปีที่: 3 ฉบับที่ 3 หน้า 209-219
คำสำคัญ
Cost analysis, Cost Accounting System, Production Cost from the Comptroller General’s partment (CGD), วิเคราะห์ต้นทุน, ระบบบัญชีต้นทุน, และต้นทุนผลผลิตของกรมบัญชีกลาง