การศึกษาผลการระงับความเจ็บปวดของการฉีดยาชา Subconjunctival Anesthesia เปรียบเทียบกับ Retrobulbar Anesthesia ในการทำผ่าตัดต้อกระจก โดยวิธี Modified Blumenthal Technique
ไพศาล สหพัฒนา*, พิพัฒน์ คงทรัพย์
บทคัดย่อ
ความรู้พื้นฐาน: การฉีดยาชาด้วยวิธี retrobulbar anesthesia ก่อนการผ่าตัดกระจกแบบ manual small incision ECCE (modified Blumenthal technique) สามารถระงับความเจ็บปวดของผู้ป่วย อีกทั้งยังสามารถช่วยให้ตาของผู้ป่วยเคลื่อนไหวน้อยลง ทำให้จักษุแพทย์สามารถทำการผ่าตัดได้สะดวกขึ้น แต่การฉีดยาชาด้วยวิธี retrobulbar anesthesia ก็อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วย ทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตาหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จักษุแพทย์จึงเลือกหาวิธีการระงับความเจ็บปวดที่มีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า มาใช้ในการทำผ่าตัดต้อกระจก
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการระงับความเจ็บปวดขณะทำผ่าตัดต้อกระจกโดยจักษุแพทย์ด้วยการฉีดยาชาวิธี subconjunctival anesthesia เปรียบเทียบกับวิธี retrobulbar anesthesia
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Prospective Randomized Control Trial มีประชากรตัวอย่าง (Sample) เป็นผู้ป่วยโรคต้อกระจก (non-complicated cataract) ใน รพ.พระปกเกล้าจันทบุรีช่วงเดือน ตุลาคม 2553-กุมภาพันธ์ 2555 โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธีจับสลากเลือกวิธีฉีดยาชา หลังจากการผ่าตัดเสร็จแล้วให้ผู้ป่วยทำการประเมิน Pain Scores ขณะได้รับการผ่าตัดนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยวิธี t-test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมศึกษามีจำนวน 162 ราย ได้รับการผ่าตัดรายละ 1 ตา แบ่งเป็นกลุ่ม subconjunctival anesthesia จำนวน 85 ราย และผู้ป่วยกลุ่ม retrobulbar anesthesia จำนวน 77 รายพบว่า
-ขณะได้รับการผ่าตัดผู้ป่วยกลุ่ม subconjunctival anesthesia มี Pain Scores เฉลี่ย 31 (SD =25) คะแนนน้อยกว่ากลุ่ม retrobulbar anesthesia ซึ่งมี Pain Scores เฉลี่ย 33 (SD=25) คะแนนโดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (mean difference score = - 2 (95%CI = -9.5; p > 0.05)) -ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอุปสรรคในการทำผ่าตัดหรือเป็นอันตรายต่อดวงตาจากการฉีดยาชาทั้ง 2 วิธี
-พบภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต้อกระจกในกลุ่ม subconjunctival anesthesia 7 ราย และกลุ่ม retrobulbar anesthesia 10 ราย
 
-BCVA (Best corrected visual acuity) หลังการผ่าตัด 1 สัปดาห์ ที่ระดับ 20/20 -20/40 ในกลุ่ม subconjunctival anesthesia มีจำนวน 82 ราย และกลุ่ม retrobulbar anesthesia มีจำนวน 71 ราย
สรุป: การฉีดยาชาด้วยวิธี subconjunctival anesthesia สามารถใช้ระงับความเจ็บปวดขณะทำผ่าตัดต้อกระจก (modified Blumenthal technique) ได้ไม่แตกต่างจากวิธี retrobulbar anesthesia
ที่มา
วารสารจักษุธรรมศาสตร์ ปี 2556, July-December ปีที่: 2 ฉบับที่ 8 หน้า 16-21