การศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยโรคเวียนศีรษะที่เกิดจากโรคหินปูนในหูชั้นในหลุดด้วยการจัดหินปูนในหูชั้นในให้เข้าที่
กาญจนา ฤทธิ์เจริญ*, ทวีเกียรติ ธรรมจารยกุล
กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลกลาง กรุงเทพฯว E-mail : k_ritcharoen@hotmail.com
บทคัดย่อ
ที่มา: โรคเวียนศีรษะ BPPV (Benign Paroxysmal Positional Vertigo) หรือโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อนหลุด เป็นโรคเวียนศีรษะได้บ่อยที่สุดในบรรดาโรคเวียนศีรษะที่เกิดจากความผิดปกติของระบบการทรงตัวส่วนปลาย การรักษาโรคนี้แต่เดิมใช้วิธีรักษาโดยให้ยาแก้อาการเวียนศีรษะเป็นครั้งคราวร่วมกับการหลีกเลี่ยงจากท่าทีจะกระตุ้นให้เกิดอาการ ต่อมามีการคิดค้นวิธีการรักษาด้วยวิธี canalith repositioning maneuver (CRM) ซึ่งได้รับการนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้
  1. เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการรักษาโรคเวียนศีรษะ BPPV ด้วยวิธี CRM กับการรักษาแบบเดิมที่ไม่ได้ใช้วิธี CRM
  2. เพื่อศึกษาภาวะแทรกซ้อน (complications) ที่เกิดจากการรักษาด้วยวิธี CRM
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 59 คน ที่มีประวัติเวียนศีรษะ และมีผลการตรวจ Dix-Hallpike เป็นบวก ในหูข้างใดข้างหนึ่ง ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยวิธีสุ่ม (randomized) ได้เป็นผู้ป่วยในกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 29 คน ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองได้รับการรักษาด้วยวิธี CRM ของ Epley โดยไม่มีการใช้เครื่องสั่นสะเทือน (mastoid oscillator) หลังทำ และไม่ได้มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของศีรษะหลังทำ ทั้ง 2 กลุ่มได้รับใบประเมินอาการประจำวัน ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับการประเมินผลการรักษาทุกสัปดาห์ จนกว่าผลการตรวจ Dix-Hallpike เป็นลบหรือจนครบ 4 สัปดาห์ของการรักษา
ผลลัพธ์: เมื่อสิ้นสุดการศึกษา (4 สัปดาห์) ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองให้ผลการตรวจ Dix-Hallpike เป็นลบ ร้อยละ 93.3 ในขณะที่ผู้ป่วยในกลุ่มควบคุม ให้ผลเป็นลบเพียงร้อยละ 55.2 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.00) ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการรักษาด้วยวิธี CRM พบได้ร้อยละ 6.7 ได้แก่ การหลุดของหินปูนเข้าสู่ lateral semicircular canal 1 ราย ผู้ป่วย 1 รายมีอาการอาเจียนขณะทำ CRM
สรุป: วิธี CRM เป็นวิธีรักษาผู้ป่วยโรคเวียนศีรษะ BPPV ที่ให้ผลการรักษาดีกว่าการรักษาแบบไม่ใช้ CRM ทั้งในด้านการหายของอาการเวียนศีรษะ และด้านการศึกษา nystagmus ให้หายไป ภาวะแทรกซ้อนพบได้น้อยเพียงร้อยละ 6.7
ที่มา
วารสารหู คอ จมูก และใบหน้า ปี 2554, January-March ปีที่: 1 ฉบับที่ 12 หน้า 12-23
คำสำคัญ
Benign paroxysmal positional vertigo, Canalith repositioning maneuver, Epleyûs maneuver