ผลของการให้ยาเฟนตานิลทางหลอดเลือดดำก่อนเสร็จผ่าตัดต่อการเกิดภาวะกระวนกระวายในเด็ก
งามจิตต์ ภัทรวิทย์*, มลิวัลย์ ออฟูวงศ์, แสงเดือน คลายนา, ปัณญวีร์ เชื้้อคำ
Department of Anesthesia, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Kor-Hong, Hat Yai, Songkhla 90110, Thailand; Phone: 074-451-651; E-mail: ngamjitp@yahoo.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการให้ยาเฟนตานิลทางหลอดเลือดดำต่ออุบัติการณ์และความรุนแรงของการเกิดภาวะกระวนกระวายหลังได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว
วัสดุและวิธีการ: การศึกษาแบบสุ่มไปข้างหน้า ในผู้ป่วยเด็ก 144 ราย อายุระหว่าง 2-9 ปี โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้เฟนตานิล 1 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ทางหลอดเลือดดำ 15 นาที ก่อนเสร็จผ่าตัด กลุ่มที่สองให้น้ำเกลือ 0.9% ในปริมาณ 1 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 10 กิโลกรัม ทำการประเมินภาวะกระวนกระวายหลังได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวโดยใช้ Watcha’s behavioural emergence delirium scale
ผลการศึกษา: อุบัติการณ์การเกิดภาวะกระวนกระวายหลังได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวต่ำกว่าในกลุ่มที่ได้รับยาเฟนตานิล เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (11/72 vs. 23/72 ราย ตามลำดับ, p = 0.03) อย่างไรก็ตามพบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในแง่ของความรุนแรงของการเกิดภาวะกระวนกระวายในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม (1/72  vs. 6/72 ราย ตามลำดับ, p = 0.12) จำนวนของผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับยาเฟนตานิลมีระดับความปวดแบบปานกลางและรุนแรงนน้อยกว่าในกลุ่มควบคุม (16/72 vs. 30/72 ราย ตามลำดับ, p = 0.02) จำนวนผู้ป่วยที่ต้องการยาระงับปวดเสริมในกลุ่มที่ได้รับยาเฟนตานิลต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (18/72 vs. 30/72 ราย ตามลำดับ, p = 0.04) ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในแง่ของระยะเวลาฟื้นจากการดมสลบ ภาวะแทรกซ้อน และระยะเวลาที่อยู่ในห้องพักฟื้นระหว่างทั้งสองกลุ่มการศึกษา
สรุป: การให้ยาเฟนตานิลทางหลอดเลือดดำ 1 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม 15 นาที ก่อนเสร็จผ่าตัด ลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะกระวนกระวายและความปวดหลังได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว โดยไม่มีผลต่อการฟื้นจากการดมสลบช้าและภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2556, December ปีที่: 12 ฉบับที่ 96 หน้า 1556-1562
คำสำคัญ
Fentanyl, Pediatric, Emergence agitation