การใช้ Aspirin ในการป้องกันน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจหลังการผ่าตัดลิ้นหัวใจ
ปราโมทย์ ปรปักษ์ขาม*, ทวีศักดิ์ โชติวัฒนพงษ์, ชูศักดิ์ เกษมศานต์, ชัยวุฒิ ยศถานุโรดม, เกรียงไกร นามไธสง, พรวลี ปรปักษ์ขาม
กลุ่มงานศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก
บทคัดย่อ
                ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardial effusion) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยหลังการผ่าตัดหัวใจ Open-heart อุบัติการณ์เกิดพบได้ 30-50% ซึ่งภาวะนี้เมื่อเกิดขึ้นในผู้ป่วย ทำให้เกิดภาวะ Morbidity หลังการผ่าตัดเพิ่มขึ้น โดยลดความสามารถในการออกแรง (exercise tolerance) เพิ่มระยะเวลาในการอยู่โรงพยาบาล (hospitalization) และที่สำคัญที่สุด คือ บางรายอาจเกิดภาวะ การกดเบียดหัวใจ (Cardiac tamponade) ซึ่งถ้ารักษาไม่ทันนำไปสู่การเสียชีวิตได้
                Pericardial effusion หลังผ่าตัดหัวใจ เชื่อว่า เป็นผลจากภาวะ pericardiotomy syndrome ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ เพราะฉะนั้น การรักษา pericardial effusion และ pericardiotomy syndrome จึงมุ่งไปที่การลดการอักเสบ โดยปกติแล้ว ภาวะนี้สามารถรักษาได้โดยการใช้ยาในกลุ่ม NSAIDS หรือยากลุ่ม Steroid เพื่อลดการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการสืบเนื่องจากการมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจปริมาณมาก จะได้รับการเจาะดูดน้ำออก (drainage) ร่วมกับการให้ NSAIDS หรือ steroid
                สำหรับในการศึกษานี้จุดประสงค์เพื่อต้องการทราบถึงประสิทธิภาพของการใช้ยา Aspirin ในการป้องกันภาวะน้ำท่วมในช่องเยื่อหุ้มหัวใจภายหลังการผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจ โดยศึกษาผู้ป่วยทั้งหมดที่ได้รับการผ่าตัดเฉพาะลิ้นหัวใจ ไม่ว่าจะซ่อนหรือเปลี่ยนลิ้น, ลิ้นเดียวหรือหลายลิ้น โดยจะยกเว้นใน Redo surgery, มีประวัติแพ้ NSAIDS, มีประวัติโรคกระเพาะอาหาร และผู้ป่วยที่ได้รับ aspirin, NSAIDS หรือ steroid อยู่แล้ว
                การศึกษานี้ เป็นการศึกษาแบบสุ่มตัวอย่างไปข้างหน้า แยกเป็น 2 กลุ่ม
                กลุ่มที่ 1 จะได้รับ Aspirin 325 mg 2 เม็ด 3 เวลา ร่วมกับ H2 blocker โดยเริ่มหลังผ่าตัดวันที่ 3 เป็นระยะเวลา 10 วัน
                กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่ม control จะไม่ได้รับทั้ง NSAIDS และ steroid
                ผู้ป่วยทุกคนจะได้รับ Anticoagulant ในวันที่ 3 หลังการผ่าตัด และจะคุมให้ได้ระดับ INR อยู่ในช่วง 1.5-2.5
                หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการประเมินปริมาณน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจโดยการถ่ายภาพ X-RAY และจากการตรวจด้วย ECHOCARDIOGRAM    ในวันที่ 7 และสัปดาห์ที่ 3 หลังการผ่าตัด
ผลการวิจัย: จาการการศึกษา ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ของปริมาณน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ภาวะแทรกซ้อนจากการมีเลือดออกผิดปกติหลังผ่าตัด, ระดับของ INR และเวลาในการเปิดของ Pericardium ไม่มีผลต่อการเกิดน้ำในเยื่อหุ้มปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: การศึกษาพบว่าแอสไพริน 325 มิลลิกรัม 6 เม็ดต่อวัน ไม่สามารถป้องกันการเกิดน้ำในเยื่อหุ้มปอด ภายหลังการผ่าตัดลิ้นหัวใจ
 
ที่มา
Chest Disease Institute Journal ปี 2549, September-December ปีที่: 4 ฉบับที่ 3 หน้า 9-14