คุณภาพของภาพคลื่นเสียงความถี่สูงจากการใช้เจลอุลตราเซานด์หรือน้ำมันมะกอกเป็นมัชฌิมสื่อ
ฐปณัฐ สมศักดิ์
โรงพยาบาลฝาง จ.เชียงใหม่
บทคัดย่อ
                การวิจัยนี้เป็นการศึกษาควบคุมแบบสุ่ม ใช้กลุ่มตัวอย่างหญิงมีครรภ์ที่มีข้อบ่งชี้ทำการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (อุลตราเซานด์) จำนวน 100 คน แต่ละรายจะได้รับการตรวจ 2 ครั้งติดกัน ครั้งแรกสุ่มเลือกใช้เจลอุลตราเซานด์หรือน้ำมันมะกอกเป็นสื่อนำเสียง แล้วถ่ายภาพผลการตรวจไว้ การตรวจครั้งที่ 2 ใช้เจลฯ หรือน้ำมันมะกอกที่ไม่ได้ใช้ในครั้งแรก ถ่ายภาพผลการตรวจไว้ จากนั้นนำภาพถ่ายครั้งแรกและครั้งที่ 2 ให้ผู้เชี่ยวชาญเปรียบเทียบคุณภาพของภาพอุลตราเซานด์ โดยระบบการให้คะแนนอย่างง่าย (0 คะแนน = ไม่เป็นที่พอใจ, 1 คะแนน = คุณภาพดี และ 2 คะแนน = ดีมาก) ผลการวิเคราะห์พบว่ากลุ่มที่ใช้เจลอุลตราเซานด์ และกลุ่มใช้น้ำมันมะกอกให้คุณภาพดีพอๆ กัน จำนวน 83 คู่, กลุ่มใช้น้ำมันมะกอกให้คุณภาพดีกว่า 10 คู่, และกลุ่มใช้เจลฯ ให้คุณภาพที่ดีกว่า 7 คู่, คะแนนความพึงพอใจในคุณภาพเปรียบเทียบกันระหว่าง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันโดยนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี = 0.306)
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ ปี 2549, January-June ปีที่: 15 ฉบับที่ 1 หน้า 30-33
คำสำคัญ
Olive oil, Ultrasound gel, Sonography, Coupling media, ภาพคลื่นเสียงความถี่สูง, เจลอุลตราเซานด์, น้ำมันมะกอก